Startup

วิชาการเพื่อคนธรรมดา: Parabola Dome เพื่อตากกล้วย

กล้วยตากจ้า กล้วยตาก สมัยนี้ไม่ต้องเร่ขายข้างทาง หรือในตลาดแล้วค่ะ กล้วยตากขึ้นชั้นไปเกือบ ๑๕ ปีแล้ว จากสินค้าพื้นบ้าน ตากแดด หลบฝน ปัดแมลงวัน ไล่นก มาเป็นสินค้าที่ใช้วิทยาศาสตร์ฟิสิกส์ มาเป็นเทคโนโยลีในการแปรรูปสินค้าดั้งเดิมของเรา ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ให้ความร้อน ตากในที่มุงบังอย่างดี  ปลอดแมลงวันและฝุ่นผง คุณภาพวางใจได้ รสอร่อย  แถมสีสวยสม่ำเสมออีกด้วย  และในเมื่อกล้วยออกทั้งปี  ก็ผลิตกล้วยตากได้ทั้งปีด้วย   จากนั้นด้วยบรรจุภัณฑ์อย่างดี กล้วยตากดั้งเดิมของ อ. บางกระทุ่ม จ.​พิษณุโลก ก็เดินเข้าชั้นในห้างสรรพสินค้า และบินไกลไปต่างแดน เป็นอุตสาหรรมทำเงินให้ประเทศระดับร้อยล้าน  เกษตรกรอยู่ดีกินดีขึ้น    ยี่ห้อที่เห็นหนาตา คือ  Banana Society   และกล้วยตากจิราพร  แต่ยังมีอีกสามยี่ห้อที่ตามติดๆ มาตามลำดับการเริ่มผลิตโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์   คือกล้วยตากแม่ตะเพียน  กล้วยตากนิตยา  และกล้วยตากอังคณา   แรกเริ่มเดิมที หนังสือหน้า ๔๒ หน้า มีภาพประกอบพอๆ กับเนื้อหา  ชื่อ พาราโบล่าโดม:  นวัตกรรมการอบแห้งที่เปลี่ยนโฉมหน้ากล้วยตากไทย …

ระทึกขวัญ ประทับใจ: เบื้องหลังงานครัวโครงการเชฟแชริตี้ ที่รามาจักรี

๓๑ พฤษภาคม ๒๕๖๓ เป็นวันสุดท้ายของการทำอาหารเพื่อบุคลากรทางการแพทย์ ที่โรงพยาบาลรามาธิบดีจักรีนฤบดินทร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในโรงพยาบาลหลักที่รับผู้ป่วยโควิด-๑๙ ในเขตกรุงเทพฯ    เชฟและทีมงานอาสาสมัครรวมตัวกันทำอาหารวันละ ๓ มื้อด้วยจิตอาสา เป็นเวลา ๒ เดือนเต็ม หรือ ๖๑ วัน รวมเสาร์อาทิตย์    สร้างสถิติด้วยอาหาร 94,100 ชุด  คิดจำนวนกล่องได้ 282,330 กล่อง โรงพยาบาลปิดวอร์ดผู้ป่วยโควิด-๑๙  ตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมแล้ว  แต่ว่าหันไประดมบุคลากรเพื่องานตรวจคัดกรองผู้อยู่ในข่ายเสี่ยงในขอบเขตที่กว้างขึ้นกว่าเดิม จนกระทั่งตอนนี้สายสุขภาพค่อนข้างสบายใจ และคอยลุ้นให้ประชาชนยังระมัดระวังตัวเองให้มากเอาไว้ก่อน เพื่อไม่ให้เกิดระบาดระลอกสองดังที่เกิดในหลายประเทศมาแล้ว   บัดนี้ก็ถึงเวลาที่เหล่าผู้ปฏิบัติงานด้านพลาธิการประจำโรงพยาบาลได้พักบ้าง   ทัวร์ครัว    ก่อนถึงวันปิดครัว ได้มีโอกาสไปชมโรงครัว   คุณแอ๋ม หนึ่งในสองของผู้ประสานงานประจำพื้นที่เป็นผู้พาชม เริ่มที่บริเวณทางเข้า พนักงานจะอาบน้ำแล้วแต่งตัวใหม่ด้วยชุดทำงาน ส่วนคนที่เข้าไปชม หรือเข้าไปประสานงานต้องเปลี่ยนรองเท้า สวมเสื้อคลุมทับชุดที่ใส่มา และสวมหมวกคลุมผมให้มิดชิด แล้วก็เดินผ่านประตูห้องแรกเข้าไปยืนในอุโมงค์ลม ปล่อยให้ลมทำความสะอาดตัวก่อนจะก้าวผ่านประตูฝั่งตรงกันข้ามเพื่อทะลุเข้าไปในเขตของงานครัว ส่วนแรกของครัวกั้นต่างหากเป็นส่วนรับวัตถุดิบเข้ามา วัตถุดิบแต่ละชนิด เช่น ของแห้ง ของสด แยกห้องรับต่างหากจากกัน…

Case Study:  การตั้งพลาธิการประจำทัพหน้า รามาจักรี (๒/๒) กองทัพเดินด้วยท้อง

เมื่อเชฟพร้อม ลูกทีมพร้อม ทีมสนับสนุนพร้อม สถานที่พร้อม กระบวนการทำงานพร้อม โครงการ “ทำครัวเพื่อหมอ” ก็เดินหน้า    ที่นี่ไม่อยากได้อาหารกล่องที่ปรุงสำเร็จ เพราะอาหารกล่องที่ผู้บริจาคหอบหิ้วมาให้ด้วยความหวังดีนั้น  กว่าจะถึงมือคนกินก็เย็นชืด ไม่อร่อย มิหนำซ้ำอาจจะบูดก่อนถึงมือผู้รับ ในที่สุดก็กลายเป็นขยะ ที่เราหลีกเลี่ยงได้ถ้าได้วัตถุดิบมาแทน เพราะโรงครัวสามารถวางเมนูอาหารได้ทันที (ต่อจากตอนที่แล้ว) 4. วางเป้าหมายและเงื่อนเวลาร่วมกับทีมงาน เมนูอาหารของสัปดาห์แรก ทำตามที่เจ้าหน้าที่ RFS กำหนดไว้ล่วงหน้าและจัดหาวัตถุดิบมาแล้ว  คุณค่าเพิ่มที่สำคัญในระยะแรกคือรสมือของเชฟ  บุคลากรทางการแพทย์ได้รับประทานอาหารร้อนๆ อร่อยๆ  และได้คุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน  นำเสนอดูน่ากิน สัปดาห์ต่อไป เริ่มใช้เมนูที่เชฟคิด บวกกับวัตถุดิบและอุปกรณ์ครัวเท่าที่มี  และเซอร์ไพรส์เมนูเป็นระยะ  เช่น วันที่ ๗ เมษายน ทำขนมปังไข่ดาว ไส้กรอก วันอาทิตย์ที่ ๑๒ มีบัวลอยไข่หวาน เป็นต้น กำหนดเวลาทำงานไว้ ๑ เดือน  ถ้ามีเชฟอาสามากขึ้น หรือเต็มใจยืดเวลาออกไป ก็อาจจะทำ ๒ เดือน    5. ให้อำนาจการคิดและตัดสินใจ เชฟกำหนดเมนูรายสัปดาห์ร่วมกับทีมงาน…

Case Study:  การตั้งพลาธิการประจำทัพหน้า รามาจักรี (๑/๒) รวมพลคนเป็นเชฟ

ความเป็นมา สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ ตั้งขึ้นมาเพื่อจะเป็นโรงเรียนแพทย์ ภายใต้คณะแพทย์ โรงพยาบาลรามาธิบดี อีกไม่นานก็จะเริ่มมีนักศึกษาแพทย์ไปเรียนที่นั่น การเรียนแพทย์ต้องมีโรงพยาบาลให้นักศึกษาได้ใช้ฝึกการทำงานภาคปฏิบัติ  นั่นคือโรงพยาบาลรามาธิบดีจักรีนฤบดินทร์ (ต่อไปจะเรียกว่า “รามาจักรี”) โรงพยาบาลนี้ใหม่มาก  ยังรับคนไข้ไม่มาก  แต่ปีนี้กลับต้องเปิดห้องผู้ป่วย และมีแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์อื่นๆ มาประจำทำงานเพิ่มขึ้นอย่างกระทันหัน  เมื่อทางคณะแพทย์ฯ รามาธิบดีกำหนดให้เป็นทัพหน้าดูแลผู้ป่วยจากการติดเชื้อโคโรนาไวรัส (COVID-19)  ในขณะที่โรงพยาบาลรามาธิบดี พญาไท เป็นทัพหลวงคอยเสริมกำลัง และในขณะเดียวกันก็รักษาผู้ป่วยอื่นๆ เพราะสถานที่อยู่ “ไกลปืนเที่ยง” มาก คือกลางทุ่งใกล้ชายทะเลจังหวัดสมุทรปราการ  อาหารการกินไม่สะดวก ประจวบกับร้านอาหารต่างๆ ปิดตัวเพราะโควิด-19  แต่ ในการรบที่กำลังของฝ่ายเก่งพอๆ กัน “สงครามชนะกันที่กองหลัง” การส่งกำลังบำรุงด้านหนึ่งคืออาหาร    สถาบันการแพทย์ฯ มีโรงอาหารสร้างใหม่ที่เปิดใช้งานแล้วเพียงบางส่วน เพื่อทำอาหารให้ผู้ป่วยในของโรงพยาบาล งานครัวทั้งหมดและงานบริหารจัดการด้านที่ไม่เกี่ยวกับการรักษาพยาบาลโดยตรง เป็นงานในความรับผิดชอบของบริษัท RFS อันเป็นบริษัทของคณะแพทย์ฯ รามาฯ  เมื่อผู้จัดการบริษัท RFS รับรู้พันธกิจของรามาจักรี ก็ถามรองผู้จัดการว่า ครัวที่สถาบันการแพทย์ฯ จะทำอาหารให้หมอ พยาบาล ฯลฯ ไหวไหม   เมื่อรู้ว่าอาคารและอุปกรณ์ในครัวรับไหว  ผู้จัดการจึงไฟเขียวให้เงินไปจ้างพนักงานมาทำครัว…

ตะวันฉายที่เมืองไทย

คนสู้งานมีมากมาย แต่คนนี้พิเศษกว่าใคร เรื่องราวต่อไปนี้ได้มาจากหนังสือที่เขียนจากคำบอกเล่าชื่อ  ตะวันออกที่เมืองไทย บันทึกชีวิตนายซิวซี แซ่ตั้ง  (พิมพ์ครั้งที่ ๑  พ.ศ. ๒๕๕๓) พิมพ์ครั้งที่ ๓ พ.ศ.​๒๕๕๖ ( บริษัทอมรินทร์บุ๊คเซ็นเตอร์ จำกัด จัดจำหน่าย ปกแข็ง ๕๐๔ หน้า ซิวซี แซ่ตั้ง เริ่มต้นชีวิตในเมืองไทยหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๔๘๘ น้อยกว่า “เสื่อผืนหมอนใบ” เสียอีก เพราะหลังจากจ่ายค่าเรือโดยสารจากซัวเถาถึงกรุงเทพฯ แล้ว เขามีเพียงเสื้อกับกางเกงที่ใส่ติดตัวเท่านั้น  ด้วยความรู้ไม่จบประถมปีที่ ๑ เพราะไม่มีเงินเรียน   เขาพูดภาษาแคะ (ฮากกา) กับแต้จิ๋วปนจีนกลาง  คนรู้จักแต่แรกเริ่มมีเพียงพี่ชายที่ทำงานแบบหาเช้ากินค่ำอยู่ในกรุงเทพฯ เท่านั้น จากเด็กในครอบครัวใหญ่ ตาบอดในวัยรุ่นอยู่ถึง ๕ ปี  เดินทางออกมาเผชิญโชคเมื่ออายุ ๒๐ ด้วยความตั้งใจว่าจะต้องร่ำรวยให้ได้  เขามีภรรยาดีที่เป็นทัพหนุน และมีลูกที่ฉลาด ขยันขันแข็ง รู้จักทำมาหาเงิน และรักเรียน ในบั้นปลายของชีวิต เขาและครอบครัวไปได้ไกลกว่าที่เขาเคยฝันไว้ ด้วยอาณาจักรธุรกิจอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่จังหวัดระยอง นี่คือเรื่องราวอันน่าประทับใจของประธานกรรมการกิตติมศักดิ์ บริษัท…

ช่องทางหาเงินแบบใหม่: รับงาน online

รับงานทางออนไลน์ เป็นการแชร์ความสามารถของเราให้กับคนที่สนใจจะจ้างเราได้ทั่วไป  ไม่ถูกจำกัดให้ต้องทำงานกับนายจ้างคนเดียว  นี่เป็นอีกหนึ่งตลาดงานของคนรุ่นใหม่ที่รักอิสระ และใช้คอมพิวเตอร์คล่อง  งานนี้ไม่จำกัดอายุ เพศ และการศึกษา ความสำคัญอยู่ที่ผลงาน (+ ความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษ)  หนังสือ “Sharing Economy ลองมาแล้ว” เล่าเรื่องใหม่ๆ ในโลกอินเทอร์เน้ต โดยเพื่อนร่วมงานรุ่นน้องของดิฉัน ที่ต้องขอลองทุกครั้งที่เห็นอะไรใหม่  ที่ยังไม่เคยลองคือลองรับจ้างทำงานทางออนไลน์ แต่ในทางกลับกัน  เขาลองใช้บริการจ้างคนทำงาน ทั้งระดับนานาชาติ และเฉพาะในเมืองไทย  และเขามีข้อสังเกต เพื่อให้ผู้ประกอบการและคนที่คิดทำอาชีพนี้ในบ้านเราได้ปรับปรุงตัว A เหตุผล ๗ ข้อที่จ้างทำงานใน ออนไลน์ ระดับนานาชาติ ผู้ว่าจ้างไม่ได้สนใจว่าคนรับงานจะเป็นชาติใด เพราะสนใจส่วนที่สำคัญกว่า คือ ๑. งานที่ต้องการว่าจ้าง ไม่รู้จะว่าจ้างใครในประเทศไทย โดยไม่ต้อง “รู้จัก” และขอร้อง เป็นการส่วนตัว  ขอแชร์เวลาของ expert ในต่างประเทศมาใช้ ๒. มีคนให้เลือกมากกว่า ๓. สามารถโพสต์ลักษณะงานที่ต้องการว่าจ้าง และงบประมาณที่จะจ่ายไปให้ล่วงหน้า ทางเว็บจะประชาสัมพันธ์ต่อผู้ทำงานที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ผู้สนใจจะสมัครมา แล้วผู้ว่าจ้างสัมภาษณ์ผ่านการ chat online แล้วคัดเลือก ขอบเขตของงานชัดเจนจะคัดคนที่ตรงกับงานมาให้เราได้ดีขึ้น…

Loading…

Something went wrong. Please refresh the page and/or try again.