All posts tagged: ปัญหาโรงพยาบาลขาดทุน

ต้อง ‘แหกคอก’ อัดฉีดเพื่อนักสู้COVID-19

คราวนี้โลกเราเจอโรคระบาดแบบที่ไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อนในชั่วชีวิต   มาท้าทายมนุษยชาติ ไม่เลือกชาติ ชั้น วรรณะ  วิกฤตในลักษณะนี้กระตุ้นให้หาทางจัดการกับปัญหาแบบนอกรูปแบบปกติ แบบที่อาจไม่เคยทำมาก่อนในชีวิตนี้ด้วยก็ได้ ดังที่เห็นประเทศต่างๆ ต่างก็ทดลองวิธีของใครของมันอยู่ ต่างก็เรียนรู้ข้อผิดพลาดของกันและกัน และทำไปในขอบเขตและความสามารถที่ผู้บริหารแต่ละประเทศมีอยู่ ในกรอบวัฒนธรรม ความเชื่อต่างๆ ที่แตกต่างกัน แล้วเราจะได้เห็นเองว่าประเทศใดประสบความสำเร็จมากน้อยกว่ากัน ตรงไหน อย่างไร  ที่แน่ๆ ก็คือ บางชาติคิดเร็ว ทำเร็ว (ทำโดยสุจริตจริงจังในสิ่งที่คิดว่าเป็นประโยชน์ต่อประชาชนของตน แต่จะดีหรือไม่ ไว้วัดกันทีหลัง) ดังที่  Zou Yue หัวหน้านักข่าว ประจำปักกิ่งของ CGTN กล่าวว่า  “Desperate time asks for desperate measures”   (ยามเข้าตาจน ก็ต้องใช้มาตรการแบบเข้าตาจน)  เวลาไม่รอท่า ทุกวันความเสียหายยิ่งเพิ่ม และผู้อยู่แนวหน้าเริ่มอ่อนแรง  ดังนั้นวิธีแก้ปัญหาต้องเร็วและเด็ดขาด ถึง “แหกคอก” ก็ต้องทำ เพราะคับขันอย่างยิ่ง กลับมามองประเทศไทย เราได้ยินแต่คำปลอบประโลมประชาชนว่าไม่เป็นไร เดี๋ยวมันก็ผ่านไป ได้ยินคำหวานๆ ที่โรยให้หมอและพยาบาลแนวหน้า โดยไม่มีใครมุ่งเข้าไปช่วยจัดการในจุดที่กองกำลังเสื้อขาวต้องการมากที่สุดเพื่อต่อสู้กับสิ่งประหลาด นั่นก็คือการส่งกำลังบำรุง (ทั้งคน เงิน และอาวุธ) ที่จำเป็นอย่างพอเพียง เพื่อให้สามารถรบได้โดยไม่ต้องพะวงหลัง  ไม่ต้องเสียเวลารอ  และไม่ต้องอ้อนวอนร้องขอ ไม่ต้องใจหายใจคว่ำว่าจะต้องรบมือเปล่าและบาดเจ็บล้มตาย ในขณะที่คนที่อยู่แนวหลังที่มีหน้าที่ส่งกำลังบำรุง  กำลังค่อยๆ เลื่อนกระดาษผ่านไปทีละโต๊ะๆ เพื่อพิจารณา แก้ไข ท้วงติง กระดึ๊บๆ อย่างไม่รู้ร้อนรู้หนาว bureaucracy กลายเป็น​ “bureau-crazy”  ไม่มีใครตอบได้ว่า อีกนานแค่ไหนจึงจะถึงโต๊ะที่จะต้องเซ็นอนุมัติ ทั้งๆ ที่การเซ็นอนุมัติก็แค่ยกปากกามาขีดแกรกเดียว    เรามีปัญหาเรื่องระบบราชการ ที่เป็นอุปสรรคต่อการส่งกำลังบำรุงอย่างรุนแรง  ในสถานการณ์คับขันเยี่ยงเวลานี้ ดิฉันเห็นว่า ใครที่มัวแต่ต้วมเตี้ยมเปิดตำราเก่า หรือกางกฎระเบียบที่เคยใช้ในยามปกติ ควรจับไปขังไว้ (พูดจาให้เห็นภาพ)  แล้วหาคนใหม่มาทำแทนทันที คำถามข้อ ๑. ใครมีอำนาจเบ็ดเสร็จ ตอบ  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข โดยอำนาจที่มีตามกฎหมาย (แต่ตอนนี้อำนาจอยู่ที่ไหนไม่ได้ไปตามดู)  เพราะรัฐมนตรีเป็นประธานคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติที่ออกมา เมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๘  และเพิ่งประกาศให้ COVID-19 เป็นโรคติดต่อตามพระราชบัญญัตินี้เมื่อ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓ นี่เอง คณะกรรมการนี้มีปลัดกระทรวงหรือบุคคลเทียบเท่าอีก ๙ กระทรวงเป็นคณะกรรมการ  อธิบดีต่างกระทรวงรวม ๙ กรม รวมผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มีผู้แทนองค์กรแพทย์ พยาบาล เทคนิคการแพทย์​ โรงพยาบาลเอกชน อย่างละ ๑  อธิบดีกรมควบคุมโรค เป็นกรรมการและเลขานุการ และผู้อำนาวยการสำนักระบาดวิทยา เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ  รวมแล้ว ๒๖ คน นับว่าพลังสูงทีเดียวในแง่ยศตำแหน่งกรรมการ และการครอบคลุมกระทรวงต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง (หรืออาจจะมากเกินจนเดินไม่ได้) ในแง่เครือข่าย ครอบคลุมทั้งประเทศ เพราะมีคณะกรรมการโรคติดต่อของแต่ละจังหวัดที่ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน และนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดอยู่ในทีมด้วย  ในแง่อำนาจก็มีมากมาย  คือประกาศเขตติดโรคได้ทั้งในและนอกราชอาณาจักร สั่งกักกันตัวได้ โดยผู้เดินทางเข้ามาต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่าย  เจ้าของยานพาหนะก็ต้องจ่ายค่าเลี้ยงดู รักษาพยาบาลบุคคลที่เข้าข่าย เจ้าพนักงานควบคุมโรคในพื้นที่ (รัฐมนตรีเป็นผู้แต่งตั้ง) มีอำนาจดำเนินการได้เองในพื้นที่ เพื่อห้ามโรคแพร่และป้องกันการแพร่ระบาด แล้วยังเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายอาญา ปรับได้ถ้าไม่ทำตามคำสั่งของคณะกรรมการ    ก็อยากได้ฟังข้อมูลว่า เคยใช้อำนาจนี้หรือยัง ๒. เงินอยู่ไหน ใครรู้บ้าง ด้านการเงินเกี่ยวกับการทำงานตามหน้าที่  คณะกรรมการที่กล่าวมาแล้วเป็นผู้เห็นชอบหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข ในการจ่ายเงินชดเชย ค่าทดแทน ค่าตอบแทน และค่าใช้จ่ายในการเฝ้าระวัง สอบสวนโรค ป้องกัน และควบคุมโรค โดยนัยนี้ เมื่อกระทำการลงไปตามหน้าที่  รัฐบาลย่อมต้องหาเงินมาให้จ่าย     ในกรณีฉุกเฉิน กระทรวงสาธารณสุขมีงบกลางกว่าพันล้านบาท  แต่จะใช้เมื่อไร อย่างไร ก็แล้วแต่จะพิจารณาตามกระบวนการพิจารณา …

สาเหตุที่โรงพยาบาลของรัฐ (เฉพาะในสังกัด สำนักงานปลัด) ขาดทุน

ปวดหัวอาจจะมาจากหลายสาเหตุ ต้องพิเคราะห์ความเป็นไปได้เป็นเรื่องๆ ไป ไม่มียาวิเศษขนานเดียวแก้โรคปวดหัวจากทุกสาเหตุ  เรื่องโรงพยาบาลขาดทุนก็ทำนองเดียวกัน คราวที่แล้วนำข้อเสนอปฏิรูประดับระบบการให้บริการสุขภาพมาเสนอแล้ว คราวนี้ขอกลับไปที่สาเหตุของปัญหาในโรงพยาบาลแยกตามลักษณะของปัญหา  และทางแก้ปัญหาเฉพาะกลุ่ม   สาเหตุของปัญหาทางการเงินของหน่วยบริการและข้อเสนอแนะทางแก้ปัญหา  ปัญหาด้านการเงินที่เกิดกับหน่วยบริการอันมีที่มาจากส่วนกลางหรือภาพรวมมี 3 ด้านคือ ก. เงินจำนวนรวมไม่พอ   ข. การจัดสรรไม่เหมาะสม และ ค. การบริหารจัดการไม่ดี ข้อมูลจากการศึกษาของผู้บริหารจัดการโครงการจากงบทดลองโดยรวม มีข้อบ่งชี้ว่าจำนวนเงินโดยรวมเริ่มไม่พอ และถ้าหากว่ายังหาข้อสรุปไปในทางอื่นไม่ได้ สปสช. ควรหยุดการเพิ่มสิทธิประโยชน์ไว้ก่อน แต่เรื่องนี้อยู่นอกขอบเขตการทำงานของคณะกรรมการฯ ส่วนอีกสองด้านที่เหลือเป็นเนื้อหาของบทนี้ ปัญหาเชิงโครงสร้างที่ทำให้รายได้ไม่พอกับรายจ่าย (ปัญหาของโรงพยาบาลไม่ใช่ปัญหาของบุคคล) ที่ต้องการการแก้ไขระดับกระทรวงหรือกระทรวงร่วมกับสปสช.  ข้อเสนอแนะที่ 1 ปัญหาเกิดมาจน แก้ปัญหาด้วยการจ่ายแบบขั้นบันไดเพื่อให้ครอบคลุมต้นทุนโรงพยาบาล โรงพยาบาลขนาดเล็กบางแห่งจำเป็นต้องให้เกิดมาเพื่อให้บริการประชาชนในพื้นที่ห่างไกลหรือพื้นที่ที่ประชากรเบาบาง ตามนโยบายของรัฐที่จะให้มีโรงพยาบาลชุมชนในทุกอำเภอของประเทศไทย  โรงพยาบาลแบบนี้ไม่ได้ economy of scale ในการดำเนินการ จึงมีค่าใช้จ่ายจำนวนหนึ่งเป็นต้นทุนคงที่ที่สูงกว่ารายได้ที่หาได้  ดังนั้น การขาดทุนจากการดำเนินงานเป็นปัญหาของตัวโรงพยาบาลนั้นเองและนานไปก็กลายเป็นปัญหาหนี้สินล้นพ้นตัว  เรื่องนี้ไม่อาจเยียวยาอาการร่อแร่ได้ด้วยการหยอดน้ำเกลือ แบบให้เงินไปทีละครั้งเพื่อพยุงไว้ตามแต่จะมีเสียงเรียกร้อง แต่ควรแก้ไขให้ฟื้นได้จริง โดยดำเนินการจาก 2 ด้านคือ ก. กระทรวงสาธารณสุขประเมินต้นทุนคงที่ที่จำเป็น เพื่อให้ดำรงการให้บริการขั้นต่ำที่หน่วยบริการหนึ่งพึงมีในระดับคุณภาพที่กำหนดเอาไว้ให้ได้ โดยไม่ใช้จำนวนเตียงเป็นบรรทัดฐานเพียงปัจจัยเดียว เพราะอัตราการครองเตียงของหน่วยบริการขนาดเล็กก็ค่อนข้างต่ำ ข. สปสช. เปลี่ยนการเหมาจ่ายรายหัว โดยคำนึงถึงจำนวนประชากรด้วยและจ่ายเงินรายหัวเพิ่มให้โรงพยาบาลขนาดเล็กเพื่อสะท้อนความพยายามจะช่วยให้ประชาชนได้เข้าถึงบริการได้ในพื้นที่ได้และสะท้อนความเป็นจริงที่ว่า โรงพยาบาลชุมชนส่วนมาก ให้บริการประชากรในระบบสปสช. เกือบทั้งหมด ตามหลักเศรษฐศาสตร์ เป็นการจ่ายเพื่อให้คุ้มกับค่ามีบริการในพื้นที่ที่ไม่คุ้มกับการบริการตามปกติ 704. ข้อเสนอแนะมี 2 แบบ คือ เหมาจ่ายแบบกำหนดจำนวนประชากร UC ขั้นต่ำที่ 30,000 คน กับเหมาจ่ายแบบขั้นบันไดเพื่อให้เป็นธรรมมากขึ้นกับโรงพยาบาลที่มีประชากร UC ต่างกัน และสอดคล้องกับหลักการประกันภัยด้วย เช่น จ่ายเป็น 2 ช่วง ตัดช่วงแรกที่ 15,000 คน กับจ่ายเป็น 3 ช่วง ตัดทีละ 10,000 คน การตัด 3 ช่วง จะเป็นธรรมมากกว่า 705.  แสดงการเหมาจ่ายรายหัวแบบขั้นบันได โดยเหมารวมงบ OP และ IP แบบง่าย ที่โรงพยาบาลขนาดเล็กให้บริการได้ ภาพที่ 7.1 ตัวอย่างจำนวนเงินที่โรงพยาบาลขนาดเล็กได้รับถ้าจ่ายเงิน UC แบบขั้นบันได 706. การจ่ายเงินให้พอกับความจำเป็นของโรงพยาบาลจะลดภาระและความกังวลของแพทย์ผู้อำนวยการด้านการเงิน ทำให้แพทย์สามารถใส่ใจกับการให้บริการด้านสุขภาพได้ดียิ่งขึ้น 707. โรงพยาบาลที่ประชากรน้อยและมีปัญหาเพิ่มในด้าน geographical location ทำให้ transportation cost และ transaction cost สูง หากจำเป็นต้องจัดสรรเงินเพิ่ม ควรพิจารณาเพิ่มเติมด้วยหลักการอื่น หลังจากจัดสรรเงินตามจำนวนประชากรในสิทธิ UC แล้ว 708. สิ่งที่พึงแก้ไขเพิ่มเติม เมื่อแก้ไขปัญหารายปีได้แล้ว จำเป็นต้องพิจารณาดำเนินการสะสางหนี้เก่าที่พอกพูนอยู่อย่างเป็นขั้นตอนต่อไป  ข้อเสนอแนะที่ 2 ปัญหาสายน้ำเปลี่ยนทาง แก้ปัญหาด้วยทีมพัฒนาธุรกิจ โรงพยาบาลที่ over capacity คือ มีประชากรทุกสิทธิน้อย แต่มีอาคาร อุปกรณ์ ฯลฯ แล้ว ซึ่งอาจเกิดได้แม้ในปัจจุบัน เช่น ประชากรจำนวนหนึ่งย้ายสิทธิไปตามการแบ่งอำเภอ แบ่งจังหวัด ที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของกระทรวงสาธารณสุข ควรจัดทีมพัฒนาธุรกิจศึกษาเป็นรายโรงพยาบาล และกำหนดแผนร่วมกันระหว่างกระทรวงสาธารณสุข โรงพยาบาล และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อปรับปรุงบางส่วนเป็นสถานพักฟื้น ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ หรือโรงพยาบาลเฉพาะทาง ฯลฯ ตามศักยภาพของพื้นที่และความเป็นไปได้ในด้านความยั่งยืน ในเรื่องนี้ควรจัดจ้างผู้มีความรู้ความชำนาญและมีผลงานด้านการทำ turn around ธุรกิจ หรือพัฒนาธุรกิจมาก่อนแล้ว เป็นผู้ศึกษาและนำเสนอจนถึงขั้นลงมือดำเนินการ เมื่อได้ข้อสรุปแล้ว จึงเป็นเรื่องที่ผู้อำนวยการโรงพยาบาลและส่วนงานในกระทรวงร่วมกันทำให้เกิดต่อไป ข้อเสนอแนะที่ 3 ปัญหาแย่งผู้ป่วยจากการแยก ขยาย และยกระดับโรงพยาบาล แก้ปัญหาด้วยการวางแผนการลงทุนเป็นเครือข่าย การที่โรงพยาบาลแต่ละแห่งลงทุนขยายงาน ไม่ว่าจะเป็นไปเพื่อลดความแออัดในโรงพยาบาลอื่นหรือหวังว่าจะได้รายได้เพิ่มจากค่ารักษาพยาบาล ก็เป็นการแบ่งผู้ป่วยสิทธิต่างๆ มาจากโรงพยาบาลที่มีอยู่แล้ว …

ปรับรื้อ สธ และจัดโครงสร้างระบบสุขภาพใหม่ ตอนที่ 2

ตอนที่ ๑ ได้เสนอแนะโครงสร้างของระบบสุขภาพที่ควรมีการปรับใหม่ แยกให้ชัด ระหว่าง ผู้วางนโยบาย (policy maker)  ผู้ให้บริการ (provider) ผู้ซื้อบริการ (purchaser) และผู้กำกับ (regulator)  ครั้งนี้เป็นข้อเสนอแนะที่เหลือ ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม การมีท้องถิ่นเป็นเจ้าของโรงพยาบาล ในเรื่องนี้มีข้อสังเกตว่า แต่ละประเทศมีผู้ให้บริการแบบใดบ้างจะขึ้นอยู่กับความเป็นมาและบริบทสังคมของแต่ละประเทศนั้น ประเทศที่ท้องถิ่นเป็นเจ้าของโรงพยาบาลมักมีประวัติศาสตร์การเมืองและการปกครองแบบอิสระต่อกันมาก่อน หรือว่าท้องถิ่นมีขนาดใหญ่แบบมณฑลในสมัยก่อนหรือเขตในสมัยนี้ และค่อนข้างอยู่ตัวไม่เปลี่ยนแปลงบ่อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่ซอยย่อยแบบที่ประเทศไทยเพิ่มจังหวัดและอำเภอ กระทรวงน่าจะพิจารณาประเด็นนี้แล้วสร้างทางเลือกหลายๆ ทาง เช่น ก. ด้านการให้บริการ ชักชวนให้องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นร่วมลงทุนในโรงพยาบาลชุมชนหรือโรงพยาบาลทั่วไปในสังกัดสำนักงานปลัดฯ หรือลงทุนในบริการบางด้านโดยโรงพยาบาลร่วมสนับสนุนด้านวิชาการ โดยท้องถิ่นมีส่วนเข้ามาร่วมบริหาร จะประหยัดงบประมาณส่วนกลาง ได้ความมีส่วนร่วมในท้องถิ่นและป้องกันปัญหาการเกิดโรงพยาบาลขนาดเล็กที่อาจไม่ได้คุณภาพในการให้บริการ ข. ด้านการซื้อบริการ โรงพยาบาลและงานในส่วนภูมิภาคพัฒนาบริการระดับชุมชนและท้องถิ่นแล้วนำเสนอให้ท้องถิ่นเลือกซื้อเป็นบริการเสริมสำหรับประชาชนในพื้นที่ งานด้านส่งเสริม ป้องกันระดับชุมชนน่าจะเป็นงานที่ท้องถิ่นมีบทบาทได้สูง ในเรื่องนี้มีผู้เขียนไว้ว่า การตกลงกันซื้อ package ทำได้หลายลักษณะ เช่น ทำเป็นสัญญาที่ระบุผลการดำเนินงาน (performance contract) สัญญาให้บริการในบางเรื่อง (service contract) สัญญาที่อิงกับต้นทุนโรงพยาบาล (input contract) และตกลงให้บริการเหมา (block) หรือกำหนดเป็นจำนวนชิ้นงาน เป็นต้น ภาพที่ 8.4.1 การให้บริการทางการแพทย์ระดับต่างๆ ในปัจจุบัน ภาพที่ 8.4.2 ข้อเสนอปรับปรุง ผลกระทบต่อภาครัฐจากการเกิดขึ้นของโรงพยาบาลเอกชน รัฐบาลมีนโยบายให้ประเทศไทยเป็น medical hub และประชาสัมพันธ์ส่งเสริม medical tourism น่าจะเป็นส่วนหนึ่งที่ส่งเสริมโรงพยาบาลเอกชนขนาดใหญ่ ผลกระทบเท่าที่ได้รับฟังมา คือ ก. ผลกระทบด้านบุคลากร  มีการดึงบุคลากรทางการแพทย์ไปจากโรงพยาบาลในภาครัฐ ซึ่งแทบจะเป็นผู้จ้างงานรายเดียวในอดีต ทำให้บุคลากรขาดแคลน ค่าใช้จ่ายด้านเงินเดือนสูงขึ้นและยังมีกรณีที่บุคลากรทางการแพทย์ของโรงพยาบาลเอกชนเป็นแพทย์บางเวลาจากโรงพยาบาลของรัฐที่มีชื่อเสียง การทำงานให้รัฐจึงอาจจะไม่เต็มที่ ข. ผลกระทบด้านการรักษาพยาบาล  ผู้ป่วยถูก “คัดกรอง” ไปโรงพยาบาลเอกชน โรงพยาบาลของรัฐได้ผู้ป่วยกรณีรักษายาก เรื้อรัง ใช้เวลาแพทย์มาก มีต้นทุนการรักษาแพง และเก็บเงินยากมาเพิ่มขึ้น ทำให้ต้นทุนในการรักษาพยาบาลรายหัวสูงขึ้นและความแออัดที่มีมากขึ้นก็ผลักให้คนเดินไปเข้าโรงพยาบาลของเอกชนยิ่งขึ้น ค. ผลกระทบด้านสังคม ผู้ป่วยหลายประเทศในโลกเริ่มมาใช้บริการในโรงพยาบาลของรัฐที่ถูกกว่าโรงพยาบาลเอกชน เท่ากับเพิ่มผู้ป่วยให้มากขึ้นไปอีกทั้งในกทม. และต่างจังหวัด เป็นการใช้งบประมาณของรัฐเพื่ออุดหนุนต่างชาติในขณะที่บริการเพื่อผู้ป่วยไทยก็ยังไม่พอเพียง นโยบายต่างๆ ที่กระทบถึงแพทย์ในฐานะบุคคลและบุคลากร ก. โรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดฯ อ่อนแอลงเพราะการขาดทุนและขาดการลงทุนปรับปรุงอย่างเป็นระบบ ทำให้สภาพแวดล้อมการทำงานไม่เป็นไปดังที่แพทย์ได้ร่ำเรียนมา ข. แพทย์ส่วนมากถูกบ่มมาให้ทำงานเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม แต่สภาพแวดล้อมตั้งแต่เริ่มทำงานตอกย้ำให้ทำงานเพื่อเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งแพทย์จบใหม่ที่ถูกส่งไปเป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลขนาดเล็กทั้งๆ ที่ประสบการณ์ยังไม่พร้อมรับงานดังกล่าว ค. นโยบายการจ่ายเงินของสปสช. ในด้านที่จ่ายเงินให้เจ้าหน้าที่หรือหน่วยบริการตามชิ้นงานที่ทำเป็นการทำงานแลกเงิน บุคลากรทางการแพทย์ในพื้นที่เห็นว่า เงื่อนไขด้านการจ่ายเงินทำให้งานที่หน่วยบริการเห็นว่าจำเป็นกว่าสำหรับพื้นที่นั้นทำไม่ได้เท่าที่ควร ง. มีข้อพึงพิจารณาว่า ฝ่ายรัฐเป็นฝ่ายผลักให้แพทย์เดินเข้าโรงพยาบาลเอกชน ด้วยการจ้างงานในราคาต่ำแต่ความไม่มั่นคงสูง (คือไม่มีอัตรากำลังข้าราชการ) ด้วยหรือไม่ เพียงใด การศึกษาอย่างเป็นระบบด้วยข้อมูลและการวิเคราะห์เชิงสถาบันน่าจะให้คำตอบที่ชัดเจนขึ้น การทำงานในภาครัฐใช้คนจำนวนมากเกินไป ควรมีการปรับปรุงระบบงานและวิธีการทำงานให้ได้ผลผลิตต่อคน (productivity) สูงขึ้นและคนทำงานตรงตามวิชาชีพมากขึ้นด้วยการปรับกระบวนการทำงานให้กระชับขึ้น พัฒนาคนให้มีทักษะมากขึ้น และนำเครื่องมือเครื่องใช้เข้ามาช่วยลดแรงงาน ส่วนการทำงานที่ให้บุคลากรทางการแพทย์รับผิดชอบงานที่ไม่เกี่ยวกับการรักษาพยาบาลก็ต้องมีการปรับปรุงให้ลดลงเช่นเดียวกัน เพื่อให้แพทย์มีเวลาเหลือสำหรับงานรักษาพยาบาลมากขึ้น ในความรู้สึกทั่วไป การเป็นข้าราชการมีศักดิ์ศรี มีสวัสดิการและได้ทำประโยชน์ให้ประชาชน สิ่งเหล่านี้ตีราคาไม่ได้ชัดเจน แต่ก็มีค่าพอจะให้คนจำนวนหนึ่งเลือกที่จะรับราชการ แต่ “ระบบ” กลับผลักคนออกจากราชการ ด้วยการสร้างความไม่มีเสถียรภาพด้านการจ้างงาน ลักลั่น ขาดความเท่าเทียมหรือความเสมอภาคระหว่างคนที่ทำงานในหน้าที่เดียวกัน ในองค์กรหรือสถานประกอบการเดียวกันที่บางคนเป็นข้าราชการ บางคนเป็นลูกจ้าง เป็นระบบที่ไม่สร้างเส้นทางอาชีพให้ชัดเจน และยังหลอกตัวเองว่าจำนวนข้าราชการไม่เพิ่มมาก แต่แท้จริงจำนวนคนไปโป่งในการจ้างงานหมวดอื่นๆ จากการศึกษาข้อมูลโรงพยาบาลหลายแห่งพบว่า มีหลายกรณีที่อัตรากำลังกับตัวผู้ครองอัตรากำลังอยู่กันคนละแห่ง คำอธิบายหนึ่งคือกรอบอัตรากำลังไม่ตอบสนองต่อภารกิจและไม่อาจปรับเปลี่ยนได้ทันท่วงที ระบบจึงเป็นตัวสร้างความไม่ตรงไปตรงมาแฝงไว้ในระบบ การตั้ง ก.สธ. เรื่องอัตรากำลังและการจัดคนให้ตรงกับงานเป็นเรื่องที่ก.พ. และกระทรวงควรทำให้ถูกต้องและคล่องตัวขึ้น ถ้ามีข้อติดขัดควรพิจารณาตั้งคณะกรรมการด้านงานบุคคลขึ้นมาใหม่เพื่อดูแลเรื่องอัตรากำลังบุคลากรทางการแพทย์ทั้งระบบเป็นการเฉพาะ รวมทั้งกำหนดคุณสมบัติที่เหมาะสมกับตำแหน่งงานและกำหนดแนวทางการบริหารจัดการงานบุคคล และให้เขตมีหน้าที่จัดอัตรากำลังในเขต โดยส่วนกลางวัดผลงานของเขตที่ความเหมาะสมในการจัดคนลงอัตรากำลัง pricing policy ก. โรงพยาบาลเอกชนเข้าโครงการเหมาจ่ายรายหัวน้อยลง แต่เป็นผู้รับส่งต่อและลงทุนรับเคสพิเศษมากขึ้น น่าจะเป็นข้อบ่งชี้ตัวหนึ่งว่าสปสช. น่าจะจ่ายเงินแพงไปในระดับรายกรณีและถูกไปในระดับ OP  เรื่องนี้ควรหยิบยกขึ้นมาเป็นประเด็นปรับปรุงการจ่ายเงินและวางแผนการซื้อบริการของสปสช. ด้วย เพราะ equity ด้านการจ่ายเงินผู้ให้บริการก็สำคัญไม่แพ้  equity ด้านการได้รับบริการ ข. อัตราการเก็บค่ารักษาพยาบาลล้าสมัยไม่พร้อมรับมือกับการที่ผู้ป่วยจากประเทศเพื่อนบ้านเดินเข้ามารับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลของรัฐ เสมือนประชาชนคนไทยคนหนึ่ง ซึ่งดึงงบประมาณและทรัพยากรอีกหลายประการไปจากการดูแลคนไทย …

โรงพยาบาลสุดแดนสยามสามทิศ

เรื่องดีๆ ที่ได้มาจากการเดินทางดูโรงพยาบาล   •  health workforce เป็นจุดแข็งของระบบสุขภาพของประเทศเสมอมา หมอส่วนมากทำด้วยความรับผิดชอบ ด้วยความรู้จริงในงาน แต่ต่อไปข้างหน้าจะเป็นอย่างนั้นหรือไม่ ในท่ามกลาง โรงพยาบาลเอกชนที่มากหลาย ที่ทำให้หมอและบุคลากรทางการแพทย์ทุกระดับมีทางเลือกมากขึ้น เป็นแรงดูด และ ปัญหาการเงินที่หมอต้องเผชิญเมื่อทำงานในโรงพยาบาลสังกัด สป. และการไม่ได้รับการสนับสนุนจากส่วนกลาง เป็นแรงผลัก • เกิดอะไรขึ้นในระบบ หมอจึงทำงานหนักแต่ถูกวิจารณ์และคนไข้ก็ไม่รัก แถมหมอด้วยกันบอกว่า งานไม่หนักเท่าไหร่ จากการอ่านพบว่า คำวิจารณ์และตำหนิติเตียนหมอมักมาจากหมอด้วยกันเอง แต่หมอดี หมอเก่ง หมอตั้งใจทำงานเพื่อประโยชน์ของผู้ป่วยก็มีมาก สปสช.จะดังระดับโลกไม่ได้ถ้าหมอไม่ทำงาน  หรือคำตินั้นเป็นเพราะรู้ว่าศักยภาพมี แบบดุลูกคนเก่ง เพราะรู้ว่ามันเก่งได้มากกว่านั้นอีก ส่วนคนที่ไม่เอาไหน ก็ทำใจไปแล้ว แต่คำติเหมือนดาบสองคม ทางหนึ่งกระตุ้น แต่อีกทางหนึ่งบั่นทอน แบบไหนจะให้กำลังใจและได้ผลงานสูงกว่ากัน (ไม่ได้หมายความว่าให้ปกป้องไม่ว่าหมอคนนั้นทำผิดหรือถูก แต่ควรทำตามหลักว่า ติคนที่พึงติ ชมคนที่พึงชม) • ระบบราชการเป็นไง ใครๆ ก็ไม่รัก ข้อนี้ตอบไม่ได้ • ระบบ สปสช. กับ สธ. เป็นยังไง จึงเป็นคู่กรณีกันอยู่เสมอ เรื่องนี้สำคัญที่ทัศนคติ ขอยกไปไว้เดือนธันวาคม หัวข้อ provider / purchaser (ตอนสุดท้าย)   การเดินทาง (เกือบ) ทั่วไทยคราวนี้ ได้คำพังเพยมาหนึ่งบท ไม่ทราบว่าเก่าหรือใหม่  สสจ. ท่องให้ฟัง แทนภาษิตน้ำพึ่งเรือ เสือพึ่งป่าฯ ช่างกลึงพึ่งช่างชัก ช่างสลักพึ่งช่างเขียน ช่างติเตียน ไม่ต้องพึ่งใคร   ประชุมครั้งที่ ๑๒ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๕๘ บริษัทฯ รายงานผลการทำงานเท่าที่ทำมาแล้ว และยืนยันส่งมอบงานได้ตามกำหนด วันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ คณะกรรมการเริ่มเตรียมตัวจะเขียนรายงานส่วนของตน รายงานมี ๓ ส่วนหลักๆ ส่วน background สป. และสปสช. เขียนในส่วนของตนๆ รายงานจาก ๓ โครงการ เป็น input และข้อเสนอแนะจากแต่ละมุมมองที่แตกต่างกัน บทนำและบทสรุปเพื่อเสนอนโยบายในภาพรวม คงเป็นงานที่กรรมการทำเอง จะจัดจ้างให้ใครทำแทนคงไม่ได้ ประธานไม่เกี่ยงที่จะเป็นผู้เขียน ขอให้ได้ข้อความเห็นมาเพ่ิมจากกรรมการทุกท่านให้ครบ ส่วนที่ผ่านมาได้บันทึกไว้เป็นลำดับแล้ว ในที่ประชุม ผู้ลงพื้นที่รายงานด้วยว่า การส่งเงินมาโรงพยาบาล จากการเบิกจ่ายไปยังสปสช. มักไม่มาเป็นรายรายการ ทำให้ลงบัญชีไม่ได้ หาค้างรับเพื่อล้างบัญชีไม่เจอ จึงทำให้ปรับปรุงตัวเองไม่ได้ เพราะไม่รู้ว่าที่เบิกไป ก้อนไหนไม่ได้เงินเพราะเหตุใด ฟังเรื่องการเงินและตัวเลขฝ่าย สปสช. มามาก คิดว่า สปสช. ควรได้รับการตรวจสอบระบบบัญชี และงบการเงินจาก ผู้เชี่ยวชาญด้านบัญชี และผู้สอบบัญชีภายนอกสักครั้งหนึ่ง น่าจะดีกับทุกฝ่าย เพื่อก้าวสู่อนาคตอย่างมั่นคงบนพื้นฐานการเงินและบัญชียิ่งขึ้น   เก็บงาน ๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๘ พบคุณหมอทั้งหลายที่เป็นกรรมการ หรือร่วมประชุมคณะกรรมการ ทั้งฝ่าย สธ. และ สปสช.  และเสริมด้วย คุณหมอวิชัย โชควิวัฒน อีกหนึ่งในหมอผู้เป็นหัวแรงการทำระบบสาธารณสุขระยะหลังของไทย หมอวิชัยให้หนังสือมาหลายเล่ม เป็นหนังสือที่อัดแน่นด้วยความรู้ ทั้งเรื่องภายในและเรื่องที่ค้นคว้ามาเล่าสู่กันฟัง   ๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๘ ไปพบ สสจ. ที่จังหวัดสระแก้ว ผ่านโรงพยาบาลอภัยภูเบศร์ ฉลองที่รัฐบาลให้เครดิตภาษีถ้าใช้เงินซื้อของช่วงปลายปี อุดหนุนสินค้าที่อภัยภูเบศร์มาเป็นของขวัญปีใหม่ให้ญาติผู้ใหญ่ปีนี้ แต่นัดยังไงไม่รู้ เราไม่พบ สสจ. ที่สระแก้ว ต้องตามไปพบกลางทาง อีกอำเภอบนทางผ่านไปจันทบุรี และเราไปไม่ถึงจังหวัดตราด เป็นอันปิดงานเดินทางที่ตะวันออกสุดในสยาม ที่สระแก้วแทนที่จะเป็นตราด แต่ก็สุดแดนไทยเหมือนกัน เรื่องที่ประทับใจที่สุดจาก street fair ที่สระแก้วคือ ร้านค้าพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า เราไม่ใช้โฟมบรรจุอาหาร เพราะท่าน …

โรงพยาบาลสุดแดนสยามสามทิศ

  ๑ ตุลาคม  ๒๕๕๘   เปลี่ยนแผนไม่ไปอำเภอเขมราฐ เพราะทีมบัญชีเสร็จงานแล้ว จึงเรื่อยๆ มาเรียงๆ แวะวัดระหว่างทาง กินไก่ที่ขอนแก่น ไปค่ำที่อำเภอเมือง อุบลราชธานี   ๒ ตุลาคม ๒๕๕๘ พบ สสจ. ที่เป็น ซีเอฟโอเขต และยังได้รับเลี้ยงอาหารกลางวัน ได้คุยกับเจ้าหน้าที่อีกหลายคน ต่อจากนั้นไปพบ สปสช. เขต แล้วเดินทางมุ่งโคราช ได้โจทย์ให้คิดต่อมามากมาย แต่ไม่เป็นไร คิดโจทย์ได้ก็น่าจะคิดทางออกได้ ขอลาไปทำใจที่อินเดียก่อน ได้สวดมนต์ กราบสังเวชนียสถานหลายๆ แห่ง เปลี่ยนบรรยากาศ ก่อนกลับมาจับงานต่อ หัวว่าง มองจากมุมไกล และยังฝากให้จิตใต้สำนึกช่วยทำงานด้วย คณะทำงานยังเดินทางไปอีกหลายแห่ง แต่ข้าพเจ้าไม่ได้ไปด้วย จะไปครั้งต่อไปในเืดอนพฤศจิกายน ไปสุราษฎร์ ———————–   ประชุมครั้งที่ ๑๐ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๕๘ ขึ้นปี งบประมาณใหม่ รองฯ ปลัดกระทรวง สธ.  มาใหม่ แทนท่านเดิมที่ได้เลื่อนตำแหน่งไปเป็นอธิบดี  คราวนี้มีผู้ช่วยปลัดฯ เข้าร่วมประชุมด้วย เล่าเลยต่อไปได้ว่า ตัวแทนฝ่ายกระทรวงไม่น่ิงตลอดไปจนจบงาน แต่ละคนมีงานประชุมล้นมือ จนน่าเป็นห่วงว่าจะประชุมจนสับสนหรือไม่ และข้าราชการทั้งหลายท่านเอาเวลาตอนไหนไปนั่งคิดทำนโยบายใหญ่ๆ ระดับชาติ เพราะการประชุมทดแทนการทำงานไม่ได้ ส่วนผู้แทนส่วนราชการต่างๆ เริ่มนิ่ง คนหน้าเดิมมาประชุมต่อเนื่อง ทำให้งานเดินไปข้างหน้าได้อย่างราบรื่นเพราะต่างคนต่างก็เข้าใจบริบทที่เกี่ยวข้องชัดเจนดีแล้ว สามคณะที่รับโครงการไปทำ รายงานเบื้องต้น บริษัทฯ รายงานเบื้องต้นสำหรับกรณีเร่งด่วนว่า ทุกโรงพยาบาลขาดทุนทุกสิทธิ  ทำเอากรรมการงง เพราะเคยได้ยินมาว่าสิทธิข้าราชการไม่ขาดทุน  แต่แล้วทุกคนก็ช่วยกันคิดเหตุผลว่าเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น และมีข้อแนะนำให้บริษัทฯ แยกตัวเลขอีกบางตัวให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ส่วนการรายงานวิธีอุดช่องโหว่ต่างๆ เช่น การไม่คุมสต๊อกอย่างถูกต้อง ฯลฯ เพราะไม่มีระเบียบ หรือไม่รู้ว่ามีระเบียบ หรือรู้แล้วไม่ทำตามระเบียบ หรือรู้แล้วแต่ลืมทำ เพราะสิ่งที่สั่งกันไว้ไม่ได้เขียนเป็นระเบียบไว้  หรือรู้แล้ว ทำตามแล้ว แต่ทำผิด  ล้วนเป็นประเด็นที่ต้องแก้ไขตามสมควรแก่เหตุ  และแก้ไขได้ทันทีไม่ต้องรอบริษัทฯ ทำรายงานออกมาอย่างเป็นทางการ ผู้บริหารโครงการรายงานว่า ไปคุยกับใครที่ไหนบ้าง และมีข้อสังเกตเรื่องการลงข้อมูลของโรงพยาบาลว่า น่าจะนำหลักของ single data entry มาใช้ ทางสถาบันฯ รายงานตัวอย่างของการทำงานที่ดี ที่น่าจะเป็นต้นแบบของโรงพยาบาลอ่ืนๆ มีตัวอย่างของ สสจ. และเขต ที่ติดตามงาน ติดตามหนี้ จัดซื้อยาร่วมกัน และบริหารงบประมาณอย่างดี และการปรับเกลี่ยระดับเขตที่ช่วยบรรเทาปัญหาเฉพาะหน้าของโรงพยาบาลต่างๆ ลงไปได้ และมีข้อสังเกตว่า นโยบายมีส่วนทำให้โรงพยาบาลมีปัญหา เพราะอยู่ๆ นโยบายก็ลอยลงมาให้เพิ่มโน่นเพิ่มนี่ เป็นการเพิ่มต้นทุนบริการของโรงพยาบาลโดยที่เงินไม่ได้ตามมาด้วย สิ่งที่ชัดเจนจากทุกฝ่ายคือ ถ้ามีผู้เก่งงานบริหารไปอยู่ที่ใด ปัญหาที่นั้นจะดูบรรเทาลงไปได้  เรื่องของคนจึงสำคัญมาก แต่จะมีวิธีแปลงความเก่งส่วนบุคคลให้เป็นความเก่งของระบบได้อย่างไร เพื่อไม่ให้กระบวนการรวนเมื่อคนเก่งคนนั้นย้ายไป   เสียงจากพื้นที่ ที่พอรวบรวมประเด็นได้ คือ ๑)  สปสช. เปลี่ยนเกณฑ์ทุกปี สปสช. ซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินคงมีเหตุผลอันควร แต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับฝ่ายผู้รับเงิน คือโรงพยาบาลประมาณการไม่ถูกว่าจะมีรายได้สักเท่าใด จึงวางแผนบางเรื่องไม่ได้เท่าที่น่าจะทำ และยังมีบางปีให้มาแล้ว เรียกเงินคืนโดยเอาไปหักออกจากปีต่อไป อีกด้วย บางทีเคลียร์เงินไม่ได้ก็ไปเหมาหักรวดเดียวข้ามปีงบประมาณ ๒) เงินงบประมาณโดนแบ่งไปให้กลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ เฉพาะเจาะจง บางกองเป็นบริการไม่ครอบคลุมทั่วประเทศ แต่ตั้งเป็นกองต่างๆ หาก ทำให้เงินถูกกักไว้ เงิน OP จึงหายไปเรื่อยๆ ๓) การจ่ายเงิน PP แยกย่อยยิบ เช่น จ่ายตามงานท่ีทำ ลูกน้องก็ทำอย่างหนึ่ง  ผู้บัังคับบัญชาอยากให้ทำแผนงานอื่นที่คิดว่าสำคัญกว่า ก็ทำไม่ได้เต็มมือ เพราะเจ้าหน้าที่มองที่ตัวเงินด้วย ถ้าหากว่าไม่อยากให้หมอและบุคลากรเห็นแก่เงิน ไม่อยากให้โรงพยาบาลรักษาตัวเลขแทนรักษาผู้ป่วย ก็ไม่ควรนำเงินมาล่อ เน้นย้ำการทำงานแลกเงินเป็นรายชิ้นให้มากนัก การกำหนดการจ่ายเงินรายชิ้นมาจากส่วนกลาง บางท้องที่ทำให้การทำงานในเรื่องที่พื้นที่เห็นว่าด่วนและสำคัญกว่า ต้องเสียไป  การจัดสรรแบบนี้เป็นการจัดสรรที่เหลื่อมล้ำ บางโรคเงินมาเต็มจำนวนด้วยงบรายบุคคล ทำให้คนทำงานที่ไม่ได้ทำงานตรงกับโรคที่ สปสช. ให้ความสนใจเป็นพิเศษ รู้สึกเหลื่อมล้ำ …

โรงพยาบาลสุดแดนสยามสามทิศ 4

ปัญหาการขาดทุน สาเหตุ และทางแก้ ประชุมครั้งที่ ๓ ๘ พฤษภาคม ๒๕๕๘     เอาไงดีให้ชีวิตคุณหมอที่ตั้งใจทำงานดีขึ้น ทำงานได้อย่างมีความสุข หรืออย่างน้อยก็ไร้ทุกข์เรื่องเงินขาดมือ ต้องคอยเจรจายืดหนี้กับบริษัทยาและบริษัทขายเวชภัณฑ์ เพื่อนร่วมงานรุ่นน้องที่ชวนมาช่วยเป็นหูเป็นตา เรื่องงานสัญญา งานตัวเลข ฯลฯ  (ต่อไปเรียกว่า “ตา” ก็แล้วกัน) บอกว่า นักลงทุนจัดพันธบัตรรัฐบาล เป็น  sovereign risk เกรดหลักทรัพย์ดีที่สุดในประเทศไทย แต่โรงพยาบาลในสังกัด สนป. เป็นหนี้ค้างจ่ายนานเป็นปีๆ  เกรดของความน่าเชื่อถือลดฮวบ ต่ำกว่า investment grade ปล่อยให้เป็นอย่างนี้ได้ยังไง โฮ! โฮ! ได้ยินเรื่อง เงินบำรุงพอ-ไม่พอ  (เงินบำรุงคืออะไรหว่า) ได้รายการเงินรายได้ของโรงพยาบาลมาเป็นตัวอย่าง ครอบคลุมหมดทุกสิทธิที่รู้จัก และมีคนต่างด้าวที่ซื้อบัตรสุขภาพ และกองทุนสุขภาพของบุคคลไร้สิทธิ์ สปสช. จัดสรรงบดีหรือไม่ เก็บเงินไว้มากเกินไปไหม ( งงนะ มีกองทุน ๗ กองน้อยในหนึ่งกองใหญ่ที่เรียกว่า เหมาจ่ายรายหัว  มีเงินเดือนบางส่วนที่เอามาคำนวณกระจายไปในกองน้อยๆ  มีการเติมน้ำหนักจัดสรร จัดเกลี่ย ที่ซับซ้อน และยังมีกองเล็กๆ อยู่ข้างนอกอีก จ่ายไปตามกลุ่มผู้รับประโยชน์ บางปีมีเงินช่วยพื้นที่กันดาร ฯลฯ)  เอ๊ะ แล้วเงินเดือนนี่ กรมบัญชีกลางจ่ายไปแล้วไม่ใช่หรือ ทำไมจึงเอามาบวกลบกลบแบ่งอีกล่ะ ปุจฉาอยู่ในใจ ส่วนใจไพล่ไปนึกวิธีหาตัวเลขมายืนยันสิ่งที่กล่าวๆ กัน จบประชุมคราวนี้ ประธานขอลาไปเที่ยวก่อน กลับมาเดือนมิถุนายนเลย ไม่ลืมโทรศัพท์รายงาน รมต.ว่า กำลังทำอะไรอยู่ พร้อมประเมินให้ว่า งานคงไม่เร็วจี๋ เพราะตัวเลขและปัญหามากมายเหลือเกิน แต่คิดว่าบริหารจัดการได้ ——————- งบ สปสช. แบ่งอย่างง่าย   คำถามที่ไม่ต้องส่งคำตอบมาชิงรางวัล– เงินค่ารักษาพยาบาลเพิ่มมาก สิทธิประโยชน์ต่างๆ ของกองทุน สปสช. เพิ่มมากขึ้น แต่ค่าเงินเดือนมีสัดส่วนน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด  หมอๆ ทำได้อย่างไร ————