All posts tagged: การบริหารงาน

คุณนุกูล ประจวบเหมาะ  ๒๔๗๒ – ๒๕๖๖ 

เป็นบทความที่เขียนไว้ใน facebook ชื่อ Knowledge Plus by นวพร รวม ๓ ตอนด้วยกัน ในวันที่ 2023 02 07  วันที่ 11 และวันที่ 13 โดยวันที่ 7 เล่าถึงวันที่ท่านอำลาธนาคารแห่งประเทศไทย วันที่ 11 เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับงานของท่านที่ดิฉันได้มีโอกาสได้ทำงานหรือมีประสบการณ์ตรงกับท่าน และวันที่ 13 เป็นภูมิหล้งภาวะเศรษฐกิจ เพื่อผู้อ่านจะได้เข้าใจความยากลำบากของสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและการเงินในช่วงเวลานั้น ขอนำมารวมไว้ในที่นี้ เพื่อเป็นการรำลึกถึงคุณนุกูล ประจวบเหมาะ ท่านผู้ว่าการของพนักงานในธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้ว่าการธปท. ๑ พ.ย. ๒๕๒๒ – ๑๓ ก.ย. ๒๕๒๗ (1979 – 1984) สำหรับคนเคยทำงานในธนาคารแห่งประเทศไทยในช่วงเวลาที่คุณนุกูลเป็นผู้ว่าการ คงจำได้ว่า ช่วงเวลานั้นเป็นช่วงเวลาที่ลำบากของประเทศไทย มีเหตุการณ์ที่ลืมไม่ลงหลายอย่าง ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละคนทำงานอยู่ฝ่ายไหนในธนาคารชาติ แต่ที่คงไม่ลืมคือวันที่ท่านผู้ว่าการนุกูลฯ อำลาธนาคารแห่งประเทศไทย วันนั้น หลังจากธนาคารปิดบริการ (คือหลังบ่ายสามโมงครึ่ง) พนักงานตัวเล็กๆ จำนวนมาก ออกันอยู่ตรงโถงกลาง ท่านผู้ว่าการกล่าวคำอำลาพนักงาน ท่านเป็นคนพูดสั้น กล่าวสั้นๆ แต่พนักงานยังไม่ยอมกลับ ท่านผู้ว่าการเองท่านก็ไม่ใช่คนช่างคุย บรรยากาศเงียบๆ เศร้าๆ มันเป็นวันแห่งความทรงจำ แต่จะทำอย่างไรดี ให้หายเงียบ หายเศร้า   ดิฉันนึกวิธีคลายความเศร้าได้โดยกระทันหัน   ดิฉันหยิบธนบัตรใบละ ๒๐ บาท ที่มีลายเซ็นของท่านออกมา ๑ ใบ แล้วก้าวเข้าไปหาท่าน ขอให้ท่านเซ็นเคียงลงไปกับลายเซ็นตัวพิมพ์   ท่านผู้ว่าการใช้ปากกาหมึกสีเขียวเซ็นให้ แล้วพยักงานอื่นๆ ก็ทำบ้าง ท่านก็เลยปักหลักนั่งเซ็นธนบัตรอยู่ตรงโต๊ะที่ปกติเป็นที่นั่งของพนักงานต้อนรับในห้องโถงกลางนั่นเอง แต่ละคนได้มีโอกาสใกล้ชิดท่าน ได้กล่าวคำขอบคุณหรืออำลาเป็นการส่วนตัว ได้ไหว้ท่านตรงตัวเป็นส่วนตัว   บรรยายกาศกลายจากความเคร่งขรึมปนเศร้า เป็นสนุกสนาน ดิฉันตั้งใจจะเก็บธนบัตรนั้นไว้เป็นสิ่งสะสมอันมีค่า เพราะมีค่าทั้งเป็นลายเซ็นจริง และมีค่าเพราะคนเซ็นเป็นบุคคลมีค่า แต่เก็บดีเกินไป จนทุกวันนี้ก็ยังหาไม่เจอ  เพื่อนๆ พนักงาน ธปท. สมัยนั้น ใครยังมีธนบัตรแบบที่ดิฉันเล่า อยู่บ้างคะ นำมาอวดกันหน่อยสิคะ คุณนุกูล ประจวบเหมาะ  หนึ่งใน “ผู้ใหญ่”  ที่น่าเคารพ แทบตลอดชีวิตการทำงานของดิฉัน  เส้นทางของงานพาดผ่านท่านผู้ว่าการนุกูล เป็นระยะๆ ครั้งละนิดครั้งละหน่อยเรื่อยมา   เป็นการผ่านพบกัน โดยที่ไม่เคยมีความสนิทชิดเชื้อเป็นการส่วนตัวเลย แต่ดิฉันจะรู้สึกเหมือนคุ้นเคยมาก       คงเป็นดังที่ฝรั่งว่าไว้   “ในโรงเรียน เราเรียนบทเรียนแล้วก็ทำข้อสอบ     ในชีวิตจริง เราได้รับบททดสอบ ที่สอนบทเรียนให้เรา”  ในระหว่างทางเดินของชีวิต ​ทุกคนไม่จำเป็นต้องแสวงหาหรือรอรับบทเรียนจากบททดสอบโดยตรงเสมอไป  เราอาจจะเรียนจากประสบการณ์ของคนอื่นได้  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรียนจากคนที่กำลังได้รับบททดสอบ โดยเราเป็นเพียงผู้สังเกตการณ์   ความสำคัญอยู่ที่ว่าเรา “เห็น”  และ “รับ” สิ่งที่เห็นมาเป็นบทเรียนหรือไม่   คุณนุกูลคงได้เห็นชื่อดิฉันผ่านตา ตั้งแต่สมัยท่านเป็นที่ปรึกษาเศรษฐกิจฯ ที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี    ดิฉันเป็น นักเรียนทุนธนาคารแห่งประเทศไทย  ได้รับทุนไปเรียนระดับปริญญาตรีที่สหรัฐอเมริกา   ก.พ. เป็นผู้ดูแลโดยตรง แต่ที่ปรึกษาฯ เป็นตัวแทนของกระทรวงการคลัง และติดต่องานกับธนาคารชาติด้วย เป็นเสมือน “ผู้ปกครอง” ของนักเรียนทุนธนาคารชาติอีกคนหนึ่ง       ดิฉันได้เห็นคุณนุกูลครั้งแรก สมัยท่านเป็นรองอธิบดีกรมทางหลวง  น่าจะเป็นดิฉันที่รู้จักและจำได้ฝ่ายเดียว     ตอนนั้น ดร. ป๋วย  อึ๋งภากรณ์​ ผู้ว่าการฯ พาฝรั่งที่มาช่วยงานที่ธนาคารชาติ ไปเชียงใหม่   ดิฉันตามไป “ดูแล”   …

A Theory on Thai Leadership Style: ศ. ดร. เจตนาฯ: ผู้นำระนาดทุ้ม

ตำราของตะวันตกนำเสนอรูปแบบของการนำและความเป็นผู้นำ   (leadership style) หลายแบบ แล้วแต่จะกำหนดคำจำกัดความขึ้นมาจากการศึกษาสถานการณ์จริง   การเป็น “ผู้นำ” แบบหนึ่งที่เราคนไทยคุ้นเคย คือ “ผู้นำระนาดทุ้ม”  หรือ “วัฒนธรรมระนาดทุ้ม”  ที่ ศ. ดร. เจตนา นาควัชระ สังเกตและสังเคราะห์มาจากการศึกษาและรู้ซึ้งในวัฒนธรรมของไทยเรา และนำเสนอเป็นทฤษฎีหลายปีมาแล้ว**   แทนการพยายามบังคับจัดการเอาการนำแบบไทยลงไปอัดใส่ลงในทฤษฎีแบบตะวันตก  วัฒนธรรมการนำแบบไทยๆ แบบนี้ อาจารย์เจตนาฯ เรียกว่า วัฒนธรรมระนาดทุ้ม    มันแฝงฝังอยู่ในวัฒนธรรมแบบไทยๆ ของเราในหลายแง่หลายด้าน    “วัฒนธรรมระนาดทุ้มกับสุนทรีย์แห่งการสงวนอารมณ์ คงจะถือกำเนิดมาจากแหล่งเดียวกัน”  อาจารย์เจตนา สรุป  ทฤษฎี “วัฒนธรรมไทยเป็นวัฒนธรรมระนาดทุ้ม  คนมีฝีมือจะไม่แสดงตัวว่าโดดเด่น  คนที่จะโดดเด่นคือลูกศิษย์เอกของฉัน  ฉันให้ลูกศิษย์เอกของฉันออกหน้า  ผู้นำไม่ชอบที่จะแสดงตัวออกมาให้โดดเด่น   คุณภาพและความสามารถที่แท้จริงมักจะไปอยู่ด้านหลัง ผู้นำเป็นผู้นำที่แอบแฝงก็ได้” วิธีการนำแบบนายวงเป็นผู้เล่นระนาดทุ้ม ทำให้ “คนทั่วไปจะมี โอกาสพัฒนาศักยภาพของตนเอง เพิ่มขึ้นได้ก็ต่อเมื่อได้อยู่ในแวดวงของผู้คนที่มีใจสูงพร้อมจะให้โอกาสผู้อื่นและยอมรับว่ามีความแตกต่างจากตนเอง”  ผู้นำที่ดีในกรณีเหล่านี้ คือ “ผู้เปิดโอกาส  และคอยประคับประคอง”  ขยายความ  วงดนตรีไทยนั้นแต่เดิมมา ครูปล่อยให้ศิษย์เอกแสดงฝีไม้ลายมือเต็มที่อย่างโดดเด่นด้วยระนาดเอก ซึ่งจะเล่นทำนองหลัก   ส่วนทางของระนาดทุ้ม เป็นทางของผู้เล่นที่ดูประหนึ่งจะทำตัวเป็นมือรอง   ระนาดทุ้มหลบตัวออกไปอยู่เบื้องหลัง เล่นลูกล้อ ลูกขัด บางทีก็สนทนากับระนาดเอก  บางครั้งทำตัวราวกับเป็นจำอวดประจำวง  แต่ถ้าวงกำลังสะดุด เขาจะมีวิธีที่เรียกว่าจิกลงไปให้กลับมาหาจังหวะให้ได้ นั่นแหละคือคนคุมวง  ในขนบดั้งเดิม ระนาดทุ้มเป็นทั้งหัวหน้าวง (concert master) และวาทยากร (conductor) ไปพร้อมกัน  โดยที่ครูเจ้าสำนักมักจะคุมวงจากระนาดทุ้มรางนี้  คนไม่รู้ก็ไม่รู้ คนที่รู้ก็รู้เองว่าใครกันแน่คือผู้คุมวง   วัฒนธรรมการนำแบบไทยๆ เช่นนี้ ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะในเรื่องการเล่นดนตรีปี่พาทย์เท่านั้น แต่ยังใช้อธิบายการนำทางการเมือง การทำงานในสำนักงาน และในกิจกรรมต่างๆ ได้อีกด้วย   เป็นวัฒนธรรมการนำที่ถ้าไม่สังเกต ก็มองไม่ออก   เมื่อฝรั่งฟังดนตรีไทย หรือคนไทยที่คุ้นกับดนตรีฝรั่ง  อาจจะงงมากกว่านักดนตรีทำอะไรกันแน่ ดูเหมือนต่างคนต่างเล่นไปกันคนละทางสองทาง หาระเบีบบแบบแผนไม่ได้  หัดก็ยาก (การเรียนดนตรีไทยระดับสูง เขาไม่เรียน แต่เขา “ต่อ” เพลง) แท้จริงคนเล่นดนตรีไทย ต่างคนต่างก็เก่งในเครื่องดนตรีที่ตนใช้ และต่างก็มีทางของตน  ในการเล่นดนตรีไทยเป็นวง คนเล่นต่างคนต่างมีอิสระในการเล่นของตน แต่อยู่ในกรอบที่เข้าใจกัน คืออยู่ในวงเดียวกัน เล่นเพลงเดียวกันและระหว่างเล่นก็ต้องฟังกันและกันให้ออก    และนี่คงเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้มีคำวิจารณ์เป็นข้อเสียว่า​ คนไทยไร้ระเบียบวินัย  เอาแต่เล่น  แต่ถ้าเราเข้าใจวัฒนธรรมไทยของเราและไม่ติเตียนจากสายตาแบบฝรั่ง เราคงหาวิธีฝึกคนให้เป็นยอดฝีมือในด้านของเขา  เมื่อกำหนดเป้าหมายของงาน และสไตล์ของงานได้แล้ว  เมื่อต้องลงมือทำงานด้วยกัน และตั้งใจทำ​ งานสำเร็จลงได้ดีเหนือความคาดหมายโดยไม่ต้องกำกับมากมายทุกฝีก้าว เรื่องแบบนี้ ผิดกับดนตรีฝรั่งวงใหญ่  ที่ผู้ดูจะเห็นวาทยากรเด่นอยู่หน้าเวที คอยกำกับวง   ชี้ให้กลุ่มนี้เล่น กลุ่มโน้นเล่น เล่นดัง เล่นค่อย เล่นช้า เล่นเร็ว   นักดนตรีต้องเล่นตามโน้ตเพลงที่กางกำกับอยู่ตรงหน้า   และต้องเล่นตามลีลาที่วาทยากรนำ  อาจารย์เจตนาฯ  สรุปการนำวงแบบมีวาทยากรว่า    “นั่นคือวิธีคิดที่ทำให้ยอมรับความเป็นใหญ่  ความเป็นผู้นำของคน” เพราะเขาคนนั้นขึ้นมายืนวาดไม้อยู่ตรงหน้า  เมื่อวัฒนธรรมไทยปะทะกับวัฒนธรรมตะวันตก อ. เจตนาเตือนว่า   “ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในรอบไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา ที่สังคมส่วนหนึ่งของเราถูกครอบด้วยการโฆษณา (ชวนเชื่อ) อันมีเทคโนโลยีเป็นตัวสนอง โดยใช้ความพริ้งเพริศเลิศหรูของระบบประชาสัมพันธ์สมัยใหม่  (PR) เข้ามาเสริม   ดูจะเป็นการสร้างความเด่นดังในระดับบุคคล ซึ่งในบางครั้งก็เป็นการ “สร้างภาพ”  เสียมากกว่า”  อาจจะทำให้เราหลงติดใจในระนาดเอก จนระนาดทุ้มสูญเสียเอกลักษณ์และวิ่งไล่ตามระนาดเอกไป  ที่จำนวนมากอาจจะเป็นระนาดเอกกำมะลอ หรือเป็นระนาดเอกประเภท “ลิปซิงก์”  ก็ได้ เมื่อดิฉันหวนกลับมาวิเคราะห์งานที่ตัวเองทำตลอดเวลาที่เป็นผู้นำองค์กร  โดยนำทฤษฎีนี้มาจับ ก็พบว่า “เออ แฮะ เราก็พึงใจในวัฒนธรรมระนาดทุ้มนี่แหละ”   ด้วยความที่ไม่ชอบดัง ไม่ชอบเด่น จะบอกฝ่ายงานด้านสมาชิกสัมพันธ์ …

Executive Must Execute***

“กรณีโควิดระบาดรอบ ๒ และรอบ ๓   เป็นเรื่องน่าเสียใจ  เพราะคนบางพวกสร้างปัญหาให้เกิดการระบาด ทั้งๆ ที่รู้” คุณหมอนักวิจัยและนักบริหารคนหนึ่งโพสต์ในเฟซบุ๊ค   เพื่อ (๑) เติมกำลังใจให้ความเหนื่อยและเครียดของคนด่านหน้า ที่ประเมินตามหลักวิชาแล้วเริ่มกังวลว่า แพทย์ พยาบาล และอุปกรณ์ทางการแพทย์เท่าที่มีจะพอหรือไม่ แถมด้วยคนไข้ทำเฉยๆ ไม่แจ้งว่าเป็นอะไรมา ทำให้บุคลากรทางการแพทย์ติดโรค และโรงพยาบาลขาดกำลังพลไปอีกส่วนหนึ่ง  และ (๒) ฟื้นฟูความอดทนของผู้ประกอบการและประชาชนทั่วไปที่ปฏิบัติตนเป็นคนดีมีวินัย มิให้ท้อถอย  ท่านนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้า executive จำเป็นต้อง “execute”  บางอย่าง execution ไม่ใช่แค่การมอบนโยบาย การแถลงข่าว หรือการสั่งการ แต่คือการจัดการให้งานบรรลุผล ถ้าให้เลือกวิธีเดียวในยามนี้ว่า  ท่านนายกฯ ในฐานะหัวหน้ารัฐบาล  (chief executive of the country) ควรทำอะไรให้บรรลุผล ขอเสนอว่าต้องใช้พระเดชเสียบ้าง เพื่อให้รู้ว่าสังคมนี้ยังมี rule of law เหลืออยู่  นั่นก็คือ ท่านมีหน้าที่จัดการให้เกิดระเบียบในสังคมนี้ด้วยการบังคับใช้กฎหมายและกฏระเบียบต่างๆ ที่กำหนดไว้แล้วว่าอย่างเป็นธรรม และทันที    การใช้พระเดช “จัดการ” บุคคลที่แหกคอกจำเป็นมาก และจะได้ผล ๓ ประการคือ ๑. ยั้งการระบาดอันเป็นภัยเงียบที่คุกคามประชาชนทุกหมู่เหล่าอย่างแทบตั้งตัวไม่ติดในเวลานี้ ได้อย่างตรงจุด    ๒. เพื่อไม่ให้ความทุ่มเททั้งปวงที่รัฐบาล บุคลากรทางการแพทย์ และประชาชนจำนวนมาก ได้ทำมาตลอดเวลา ต้องมลายหายไปเพราะคนบางหมู่เหล่าทั้งใกล้และไกลตัวภาครัฐแหกคอก ทั้งเจาะรู ทั้งเอาเท้าราน้ำ ทั้งรวมกันทำให้เรือโคลง ๓. ดับร้อนของคนที่รู้สึกถึงความไม่เป็นธรรมจากสิ่งที่เขามองเห็นว่าเป็นความลำเอียง ทั้งในการกระจายวัคซีน และการปิดกิจการครอบจักรวาล แทนการจัดการคนที่แตกแถวหรือแหกกฎให้ตรงตัว   คือ “คนทำผิดกำลังได้รับรางวัล ส่วนคนทำถูกต้อง กำลังถูกลงโทษ”     สิ่งที่ต้อง execute ๑. เช็คลิสต์รายการบุคคลหรือกิจการที่เจาะตาข่ายความมั่นคงด้านการป้องกันโรคจนขาดกระจุย เรียงตามลำดับเหตุการณ์  และถามตัวเองว่า ท่านได้ “จัดการ” อะไรไปแล้วบ้าง   ก. ตลาด แรงงานต่างด้าว ทั้งผู้นำพา เจ้าหน้าที่ที่ละเลยการปฏิบัติตามกฎหมาย นายจ้าง และหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ป้องกัน ตรวจสอบ ดูแล การปฏิบัติตามกฎหมาย    ข. นักการเมืองและข้าราชการระดับสูงที่ติดเชื้อ  ค. ผู้จัดการคลับ พนักงานคลับ  เจ้าพนักงานในพื้นที่ (ตำรวจ  เขต กทม. มหาดไทย) ที่เกี่ยวข้อง และผู้ใช้บริการคลับที่ละเมิดกติกาด้านการป้องกันการระบาด     (ถ้าผู้ใช้บริการเป็นบุคคลในภาครัฐ ต้องมีการ “จัดการ” ในด้านวินัยขององค์กรด้วย)   และรวมถึงกิจกรรมอื่นๆ ที่บ่งชี้ว่าเป็นตัวการแพร่เชื้อ ข้อ ข. จำเป็น เพื่อรักษาจริยธรรมทางการเมืองและระบบราชการ เอาไว้บ้าง เพราะบุคคลที่เกี่ยวข้องต้องเป็นแบบอย่างให้สังคม   ยกตัวอย่างกรณีที่เผยแพร่ทางไลน์ (ถ้าจริง) คือ ตำรวจนอร์เวย์ปรับนายกรัฐมนตรีนอร์เวย์กรณีผิดกฎว่าด้วยการเว้นระยะห่างทางสังคม เพราะจัดงานวันเกิดโดยมีสมาชิกในครอบครัวร่วมงาน ๑๓ คน ทั้งๆ ที่กฎหมายห้ามปาร์ตี้ที่มีคนเกิน ๑๐ คน เธอกล่าวขอโทษ พร้อมทั้งเสียค่าปรับไปเป็นเงินไทย ๗ หมื่นบาท  ถ้าเป็นคนอื่นตำรวจอาจจะผ่อนผัน แต่นี่คือนายกฯ คือต้นแบบของคนที่พึงปฏิบัติตามกฎ  บ้านเรามีกฎหมายว่าด้วยโรคระบาดแต่ไม่รู้ว่ามีบทปรับในเรื่องแบบนี้หรือไม่  ถึงไม่มี ท่านนายกฯ ก็ควรจะจัดการให้บุคคลในกลุ่มนี้ออกมาชี้แจงต่อสาธารณะชนว่า ตนได้บกพร่องในกระบวนการป้องกันตนเองตรงไหน และได้แก้ไขปรับปรุงไปอย่างไร เพื่อเป็นบทเรียนในการเรียนรู้สำหรับทุกๆ คน เป็นต้น ข้อ ค. ควรชัดเจนว่า (๑) ไม่ว่าสถานบริการหรูหรือสามัญ ไม่ว่าการจัดคอนเสิร์ตหรือปาร์ตี้ระดับใด  ทุกกิจการต้องทำตามกฎ  (๒) ลงโทษเฉพาะสถานบริการที่ผิดกฎ และลงโทษผู้ประกอบการและผู้เกี่ยวข้องร่วมกิจกรรม ฯลฯ  ที่ผิดกฎ …

KPI หมุดหมายสู่เป้าหมาย

KPI  Key Performance Indicator คุณอาทิวราห์ คงมาลัย วิ่งจากใต้สุด สู่เหนือสุดที่เชียงราย เป็นการวิ่งเพื่อระดมทุนซื้อเครื่องมือแพทย์ให้โรงพยาบาลในต่างจังหวัดหลายแห่ง เป้าหมายอยู่ที่ไหน อยู่ที่ “วิ่ง”  หรืออยู่ที่ “เงิน” ที่จะต้องการระดมให้ได้ หรืออยู่ที่ “เครื่องมือแพทย์ที่อยากจะซื้อ” หรืออยู่ที่ “จำนวนโรงพยาบาล” ที่ต้องการมอบเงินหรือเครื่องมือแพทย์ให้ ดิฉันคิดว่า เป้าหมายของคุณอาทิวราห์อยู่ที่ “วิ่ง” ทิศทางคือจากใต้สุดของประเทสไทย ขึ้นถึงเหนือสุดของประเทศไทย การตั้งเป้าทำให้เริ่มวางแผนเพื่อให้ได้ตามเป้า เช่น วิ่งกี่กิโลเมตร เส้นทางไหนบ้าง ใช้เวลากี่วัน ประเมินศักยภาพและความแข็งแรงของตนเองว่า น่าจะวิ่งได้เฉลี่ยวันละกี่กิโลเมตร  ต่อจากนั้นก็ลงมือฝึกซ้อม เตรียมอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง จัดทีมงานให้พร้อมก่อนกำหนดวันวิ่ง ดูๆ ก็ไม่เห็นมีอะไร เป็นสามัญสำนึกทั่วๆ ไป  แต่จริงหรือที่ว่า “ไม่มีอะไร”  และถ้าจะให้องค์กร “วิ่ง” สู่เป้าหมายใด เราคิดและทำแบบนี้หรือเปล่า ลองดู “สามัญสำนึก” แบบอื่น หารยาวลงมาเลย ตัวเลขเฉลี่ยต่อวัน คือเป้าหมายต่อวันที่ต้องทำให้ได้ สมมติว่าต้องวิ่งทั้งหมด 500 กิโลเมตร วิ่ง 10 วัน เพราะฉะนั้นต้องวิ่งวันละ 50 กิโลเมตร ไม่ต้องคำนึงถึงภูมิประเทศว่าวันไหนวิ่งทางราบ วันไหนวิ่งขึ้นเนิน  วันไหนวิ่งเข้าเมือง ฯลฯ   องค์กรต่างๆ รวมทั้งมหาวิทยาลัย ทำแบบนี้ใช่ไหม  มีเป้าหมาย 5 ปีเท่าใด ก็หารกลับมาเป็นต่อปีเท่าๆ กัน   งานวิจัยคิดหารยาวเป็นจำนวนชิ้นที่เสร็จต่อปี  รับนักศึกษาเพิ่มเท่าใดก็หารออกมา ต้องการนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาเท่าใดก็หารเท่ากันทุกปี บางแห่งอาจจะมีสูตรสำเร็จหารลงไปรายคณะ และแต่ละคณะอาจจะทำแบบเดียวกันโดยหารลงไปตามภาควิชา และเพิ่มลดตามการต่อรอง ไม่ใช่ปรับตามลักษณะของวิชา ถ้านักวิ่งใช้ตัวเฉลี่ยเป็นเป้าหมายต่อวัน เขาก็คงจะท้อแท้ถ้าวันไหนวิ่งขึ้นเนิน ทำให้ช้ากว่ากำหนด เหนือจากการกำหนดเป้าหมายรายวัน ต้องไม่ลืมเป้าหมายใหญ่ว่าจะวิ่งไปเชียงราย ระหว่างทางอาจจะต้องเปลี่ยนเส้นทางบ้าง แต่เป้าหมายหลักไม่เปลี่ยน ถ้ากำหนดว่าวิ่งวันละ 50 กิโลเมตร แต่ระหว่างทางลืมไปแล้วหรือลืมกำหนดว่าจะวิ่งไปไหน  วิ่งวนๆ ไปกลับกรุงเทพ – สมุทรปราการ ทุกวัน ก็อาจจะได้เป้ารายวันเหมือนกัน ตัวอย่างที่ยกขึ้นมาเหมือนเป็นสิ่งที่คนเราไม่น่าจะคิดแบบนี้ได้   แต่เกิดขึ้นได้แน่นอนเพียงแต่ว่าเรื่องใหญ่ๆ ขององค์กรมองเห็นไม่ชัดเท่าตัวอย่างง่ายๆ  ขอยกตัวอย่างในองค์กร ดังนี้                     ตั้งเป้าหมายว่าจะโตปีละ 5%  อาจจะโตไปไหนก็ได้                     รับนักศึกษาเพิ่มปีละ 5% (หรือลดนักศึกษาปีละ 5%  ซึ่งเป็นสิ่งที่พึงทำในเวลานี้ แต่ทำใจให้คิดแบบนี้ไม่ได้)  อาจจะรับนักศึกษาอะไรก็ได้ หย่อนเกณฑ์ลงมารับก็ได้ เช่น สอบเข้าคะแนนไม่ถึงก็ยังรับ เพื่อให้ได้ KPI ที่ “เบื้องบน” กำหนดลงมา (แท้จริงตนเองร่วมกำหนดด้วย)                      ถ้า KPI มีว่า นักศึกษาปริญญาโทต้องจบใน 3 ปี อาจจะมีบางคณะที่อาจารย์จับมือนักศึกษาเขียนวิทยานิพนธ์ให้จบตามกำหนด สิ่งที่ลืมไประหว่างทางคือ มหาวิทยาลัยมีหน้าที่ทำอะไร ขายปริญญาหรือขายคุณภาพบัณฑิต                     ตั้งเป้าผลิตงานวิจัยปีละกี่เรื่องเพื่อให้ได้ตีพิมพ์ ก็ผลิตไป  ไม่ได้มีเป้าว่างานวิจัยต้องมีประโยชน์ในด้านใด …

Conflict of Interest และวิธีบริหารจัดการ ตอน ๒ Disclosure 

กรณีที่เคยเกิดขึ้นในมหาวิทยาลัยของรัฐ  One level up มีคู่หูตามมาอีกชุดหนึ่งที่อาจจะจำเป็นต้องหยิบมาใช้ร่วมกัน เพื่อให้ได้มาซึ่ง “ความโปร่งใส” (transparency) ในการทำงานและคุ้มครองผู้ที่อาจได้รับผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ คือ การเปิดเผยข้อมูล  (disclosure)  การใช้ราคาตลาดเพื่อตัดสินการทำธุรกรรมกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (arm’s length principle)   ในกรณีที่การทำรายการเป็นเงินจำนวนน้อย เป็นเรื่องง่ายๆ เกี่ยวข้องกับบุคคล ๑ – ๒ คน ไม่มีผลกระทบที่มีนัยสำคัญต่อองค์กร  แต่ละองค์กรก็ต้องมีวิธีบริหารจัดการเช่นกัน เช่น การขออนุมัติผู้บังคับบัญชาลำดับถัดไป เป็นต้น คือกลับไปเรื่อง one level up อีกครั้ง แต่ถ้าเป็นเรื่องใหญ่ๆ ต้องมีกระบวนการมากกว่านั้น กรณี one level up  ตั้งภรรยาเป็นที่ปรึกษาส่วนงาน  โดยไม่รับเงินเดือน ผู้อำนวยการอีกคนหนึ่ง ตั้งภรรยาเป็นที่ปรึกษาในส่วนงานที่ตนเป็นผู้อำนวยการอยู่  ภรรยาเป็นคนที่มีผลงานเด่นมาก เข้าข่ายเป็นดาวรุ่ง และตุณสมบัติพร้อมที่จะเป็นรองผู้อำนวยการหรือที่ปรึกษาได้แน่นอน และเพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจว่าไม่ได้เข้ามาแสวงหาประโยชน์ส่วนตน จึงตกลงกันให้ภรรยาทำงานโดยไม่รับเงินเดือนในส่วนงานนี้  แม้กระนั้นก็ยังมีข้อครหา เพราะพนักงานทั้งส่วนงานรู้สึกว่า พวกตนไม่อยู่ในสายตา  มีการคิดและปรึกษากันแค่สองสามีภรรยาเสมือนส่วนงานเป็นกิจการในครอบครัว บางคนมองว่าภรรยาเข้ามายุ่มย่ามในกิจการของสามี  ผู้อำนวยการชี้แจงว่า ที่ต้องทำเช่นนั้นเป็นเจตนาดี เพราะพนักงานที่มีอยู่ฝีมืออ่อนต้องพัฒนา และไม่สามารถพัฒนาให้ได้ผลงานรวดเร็วตามเป้าหมายได้ จึงต้องการคนที่ไว้ใจได้มาช่วยกันคิด ให้งานเดินไปได้รวดเร็วขึ้น ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อส่วนงานและส่วนรวม ดิฉันเห็นว่า สามีภรรยาในที่ทำงานเดียวกันไม่ใช่เรื่องที่พึงสนับสนุน แต่เรื่องนั้นยกไว้ก่อน ดูเฉพาะประเด็นว่าต้องมีคนมาช่วยงาน และคนๆ นั้นบังเอิญเป็นภรรยาของตนเอง ควรจะหาทางออกที่เหมาะสมอย่างไร  แทนการขอร้องให้ภรรยาต้องเสียสละทั้งเวลาและเงินเดือน และยังได้ก้อนอิฐเป็นของกำนัล ดิฉันแนะนำให้ทำหนังสือชี้แจงความจำเป็นให้ผู้ระดับบริหารที่สูงกว่าอนุมัติ การมี “ผู้ใหญ่” รับรู้และเห็นชอบจะตัดเสียงซุบซิบที่เพ่งเล็งไปที่ผู้อำนวยการและภรรยาลงไปได้ กติกามารยาทของหน่วยเหนือคือ  (๑) อนุมัติให้ทำได้ หรือ (๒) ทักท้วงไม่ให้ทำ  (๓) ทำ (๑) และ (๒) ในเวลาอันเหมาะสม (เช่น ๓ วัน ๗ วัน) ห้ามเอาไปเก็บไว้เฉยๆ ไม่พูดอะไร ทำทีเป็นไม่รู้เรื่องเมื่อเกิดเรื่อง เพราะการนั่งทับไว้ก็เท่ากับไม่สนับสนุนหลักบริหารกิจการที่ดีในองค์กร ทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชาปฎิบัติตนไม่ถูก เรื่องคราวนี้ “ผู้ใหญ่” พร้อมจะอนุมัติอยู่แล้ว แต่ว่าเรื่องจบลงอย่างไร ดิฉันไม่ทราบ เพราะการทำงานในรูปคณะกรรมการแบบนี้ จบภาระหน้าที่แล้ว คณะกรรมการก็สลายตัว เปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะ (disclose) เรื่องบางเรื่องที่ไม่มีผลกระเทือนองค์กรนัก   และการขออนุมัติพร่ำเพรื่อก็ไม่สมควร เรื่องที่เข้าข่ายผลประโยชน์ทับซ้อน ควรใช้วิธี disclose  แม้แต่เรื่องที่ขออนุมัติผู้บังคับบัญชาแล้วก็อาจจะควรเปิดเผยต่อสาธารณะเพื่อกันข้อครหาว่า “งุบงิบ” หรือ “สมรู้ร่วมคิด” หรือ “รวมหัวกัน” ทำ แต่ถ้าเป็นเรื่องใหญ่ ต้องทำทั้งสองขั้นตอน คือขออนุมัติ และเปิดเผยข้อมูลด้วย เพื่อให้รอบคอบ โปร่งใส ตรวจสอบได้    เรื่องใหญ่ มีนัยสำคัญ ตลาดหลักทรัพย์ฯระบุเรื่องการทำธุรกรรมสำคัญที่มีผลประโยชน์ทับซ้อนไว้หลายขั้นตอน สำหรับให้บริษัทจดทะเบียนในตลาดถือปฏิบัติ คือ (๑) กล่าวถึงรายการที่เข้าข่ายมีผลประโยชน์ทับซ้อน  เช่น ซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ หรือจัดจ้างงานจำนวนเงินสูง กับผู้มีความสัมพันธ์เกี่ยวโยงกัน (๒) มีคำจำกัดความของผู้มีความเกี่ยวโยง เช่น ผู้ถือหุ้นรายใหญ่  ผู้บริหาร และเครือญาติ (๓) แนวทางปฏิบัติหลักๆ คือ (ก) ให้หน่วยเหนือกว่า ( กรณีของกิจการคือคณะกรรมการ) เป็นผู้อนุมัติ โดยแนะนำให้ผ่านการกลั่นกรองของกลุ่มกรรมการอิสระก่อนด้วย และ (ข) ให้ใช้ arm’s length principle (คือพิสูจน์ได้ว่าราคาที่ซื้อขายหรือจัดจ้าง ไม่ได้สูงกว่าราคาที่พึงซื้อได้ในท้องตลาด  คำอธิบายคำนี้ ขอยกไปไว้บทต่อไป) (ค) ต้องเปิดเผยข้อมูลที่มีสาระสำคัญกระทบถึงกิจการ หรือการทำธุรกรรมที่มีผลประโยชน์ทับซ้อน  โดยแจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์ในทันที และตลาดฯ นำข้อมูลดังกล่าวเผยแพร่ต่อให้นักลงทุนได้รู้ การเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะโดยเร็วเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็น เพราะธุรกรรมที่ทำอาจจะมีผลกระทบต่อผลประกอบการของบริษัท และต่อราคาหุ้นที่ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ได้  ธนาคารแห่งประเทศไทยที่ทำหน้าที่กำกับดูแลธนาคารพาณิชย์ ก็มีกฎกติกาสำหรับเรื่องทำนองนี้เช่นนั้น ซึ่งครอบคลุมเรื่องกว้างขวางกว่า และกำหนดผู้มีความเกี่ยวโยงไว้หลายชั้นมาก เรื่องเล็กๆ ตัวอย่างที่ …

โรงพยาบาลสุดแดนสยามสามทิศ

ประชุมครั้งที่ ๑๕ (ครั้งที่ ๓ ของปี ๒๕๕๙) ๑๐ มีนาคม ๒๕๕๙ สถาบันวิจัยฯ  สรุปปิดงานโครงการส่วนที่รับทำ ประธานเกริ่นหัวข้อต่างๆ ที่จะบรรจุลงในรายงานส่วนของคณะกรรมการทั้งจากความเห็นที่ได้ในห้องประชุม ในการออกไปพื้นที่ และการสนทนากับกรรมการแต่ละคน ที่ทำมาตลอดปี โดยนำเสนอเป็นแผนภาพ ให้เห็นหลักการคิดเกือบทั้งหมดที่คิดไว้แล้ว และขอความเห็นเพ่ิมเติมจากคณะกรรมการ   ประชุมครั้งที่ ๑๖ (ครั้งที่ ๔ ของปี ๒๕๕๙) ๒๑ มีนาคม ๒๕๕๙ ในห้องประชุมอันร้อนระอุเพราะแอร์เสีย ของ สวปก. ซึ่งไม่เคยมาประชุมมาก่อน ประธานนำเสนอสิ่งที่เขียนเอาไว้ แต่ลืมพิมพ์ออกมาแจก  รวดเดียวจบ แล้วขอความเห็นเพ่ิมเติมอีกครั้งเพื่อปรับปรุงข้อมูลและข้อเสนอ ทุกฝ่ายรับทราบและให้ข้อคิดความเห็น ประธานรวบเรื่อง จบงานของคณะกรรมการ โดยส่วนที่แก้ไขและรายงานฉบับเต็มจะส่งให้ทุกคนได้อ่านและแก้ไขอีกครั้งทาง อี เมล์ แล้วจัดส่งท่านรัฐมนตรีภายในสิ้นเดือน เจ้าหน้าที่ของ สป. นำหนังสือนำส่งมาให้ลงนามถึงรัฐมนตรี และสำเนารายงานส่งปลัดกระทรวง เป็นอันจบงาน เอกสารน่าจะออกจากกระทรวงวันที่ ๓๐ มีนาคม น่าประหลาด เป็นวันเดียวกับที่ข้าพเจ้าจบรายงาน ศปร. อันเป็นรายงานที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแต่งตั้งเมื่อเกือบ ๒๐ ปีมาแล้ว คราวนั้นข้าพเจ้าเป็นกรรมการและเลขานุการของคณะกรรมการ หวังว่าสิ่งที่ได้ทุ่มเททำมาตลอดปีจะมีผลดีต่อวงการสุขภาพของประเทศของเราได้พอสมควร   เอกสารรายงานของคณะกรรมการฯ ซึ่งรวมสรุปรายงานของบริษัทฯ สถาบันฯ และผู้บริหารโครงการฯ เป็นเอกสารของ สธ. แต่ สธ. ไม่มีงบจะจัดพิมพ์เผยแพร่  ใครที่สนใจน่าจะขอได้ โดยตรง และ สป. จะส่งให้แบบที่ถูกเงินที่สุดคือทาง อีเมล์     ข้อคิดปิดท้ายบันทึก ว่าด้วย เก่ง ดี กล้า จะปกป้องคนดีไหม ระบบราชการ เช่น สธ และระบบงบประมาณของไทย ลงโทษคนเก่งที่ดี ด้วยการลดเงินสนับสนุน เพราะทำงานได้ดี ก็ไม่ต้องการงบประมาณมาก ถูกแล้วหรือ คนไม่ดีที่กล้า สามารถเข้าครองอำนาจและตำแหน่งผ่านพรรคพวกเพื่อนพ้อง และการข่มขู่คุกคาม ส่วนคนเก่งและดี เมื่อไม่มีความกล้า ก็ไม่อาจทำสิ่งสำคัญๆ ให้สำเร็จได้ และอาจจะแย่ยิ่งกว่าคนเก่งกล้าที่ไม่ดี เพราะดีหรือไม่ดี อาจจะเห็นผลได้ชัดในอนาคต แต่ถ้าไม่กล้าเสียแล้ว ก็ไม่เกิดประโยชน์อันใด   เรื่องสืบเนื่อง ๑๑ เมษายน ๒๕๕๙ มีนัดไปรายงานท่านรัฐมนตรี  ที่ปรึกษา และผู้ช่วยของท่าน และปลัดฯ ทำรายงานออกมาเป็นรูปเล่มหนังสือเอง เพื่อมอบให้ท่านรัฐมนตรีเป็นการเฉพาะ   ๒ พฤษภาคม ได้รับนัดไปนำเสนอเรื่องต่อ คณะกรรมการ สปสช.