Month: September 2017

Cassini: ตัวอย่างด้านการบริหารจัดการ

เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2560 ยานอวกาศ Cassini ล่วงลับอย่างล้ำค่าเมื่อตนเองถูกเผาไหม้ไปขณะล่วงเข้าสู่ชั้นบรรยากาศของดาวเสาร์ด้วยความเร็ว 76,000 ไมล์/ชั่วโมง   Cassini เดินทางและสำรวจอวกาศมาแล้ว 20 ปี และเปิดความรู้ใหม่เกี่ยวกับสุริยจักรวาลในหลายๆ ด้านให้กับมนุษยชาติ  ข้อมูลนาทีสุดท้ายที่ส่งกลับมายังศูนย์อวกาศในโลกมนุษย์ก่อนตนเองจะดับสูญไป เปิดยุคใหม่ให้กับการสำรวจอวกาศ  การเข้าไป “เห็น” ดาวเสาร์เป็นครั้งแรกเป็นการกระโดดคว้าความรู้ทางวิทยาศาสตร์ครั้งใหญ่สำหรับศตวรรษที่ 21 หลังจากที่มนุษย์เราได้กระโดดคว้ามาครั้งหนึ่งแล้วในการเดินทางสู่อวกาศและการไปเดินบนดวงจันทร์ในศตวรรษที่ 20   เมื่อ 4 ตุลาคม ค.ศ. 1957 Sputnik ของสหภาพโซเวียต ออกพ้นโลกสู่ห้วงอวกาศได้  Yuri Gagarin เป็นมนุษย์คนแรกที่ได้ขึ้นไปสู่อวกาศ และเห็นโลกของเราจาก “นอกโลก” หนึ่งเดือนต่อมา อเมริกันก็ส่ง Alan Shepard ขึ้นไปบ้าง และประธานาธิบดีจอห์น เอฟ เคนเนดี้ ได้ตั้งเป้าหมายแห่งชาติตั้งแต่ 25 พฤษภาคม 1961  ว่าจะส่งคนไปยังดวงจันทร์ให่ได้ก่อนสิ้นทศวรรษ นักวิทยาศาสตร์ นักการเมือง อเมริกันพร้อมใจกันทำให้พันธกิจนี้เป็นจริง คนทั่วโลกได้เห็นการถ่ายทอดสด Neil Armstrong ออกจากยานอวกาศไปเดินบนดวงจันทร์ในปี ค.ศ. 1969 พร้อมกับลุ้นระทึกให้ยานอพอลโล11 เดินทางจากดวงจันทร์กลับสู่โลกโดยสวัสดิภาพ นี่เป็น “ก้าวเล็กๆ ของคนคนหนึ่ง แต่เป็นก้าวที่ใหญ่ย่ิงของมวลมนุษย์” บทเรียนสำคัญในครั้งนั้นคือ ตั้งใจมั่นแล้วไปให้ถึงด้วยการร่วมมือกันทุกฝ่าย ต่างคนต่างทำในสิ่งที่ตนถนัด และเป็นหน้าที่ แม้พ้นวาระประธานาธิบดีคนเดิมมาแล้ว ก็ยังยืนพันธกิจเดิม ไม่วอกแวก ไม่บิดเบี่ยง สองชาติแข่งกันเก่ง เอาชนะกันด้วยฝีมือและความรู้ (ปัดแข้งปัดขากันบ้างหรือเปล่าไม่รู้ แต่ผลคงไม่ร้ายแรงจนถึงกับทำให้โครงการอวกาศชะงักงัน) ทำให้วิทยาศาสตร์ก้าวหน้าไปอีกระดับหนึ่ง ดาวเสาร์มีเสน่ห์ลึกลับชวนค้นหาที่สุด ในเวลานี้รู้แล้วว่า มีดวงจันทร์นับได้ถึง 62 ดวง มีวงแหวนล้อมรอบเป็นพัน เป็นก้อนน้ำแข็ง ที่แผ่ออกไป 90,000 ไมล์ในอวกาศ ซึ่งยังไม่ได้ข้อมูลชัดเจนว่าวงแหวงเหล่านี้เกิดพร้อมดาวเสาร์และระบบสุริยะ หรือเกิดจากดาวเสาร์ในภายหลัง  พื้นผิวของ Titan ดวงจันทร์ดวงใหญ่ที่สุดของดาวเสาร์คือมีเทนและอีเทนเหลว ส่วนดวงจันทร์อีกดวงเป็นเกลือแช่แข็ง ภายใต้มีของเหลวร้อนที่พึ่งออกมาจากใจกลาง  จึงอนุมานกันว่าน่าจะมีโอกาสที่จะพบ “สิ่งมีชีวิต” ดังที่มนุษย์เรารู้จัก  และในระหว่างการเดินทาง Cassini ยังได้ทีโอกาสสังเกตปรากฎการณ์ทางธรรมชาติในอวกาศอย่างใกล้ชิดอีกหลายเรื่อง นับเป็นโบนัสสำหรับนักวิทยาศาสต์อวกาศโดยแท้ นี่เป็นแค่ส่วนเดียวของการ “ทำความรู้จัก” กับเพื่อนร่วมสุริยจักรวาล ที่กำเนิดมาเมื่อ 4,500 ล้านปีมาแล้ว ยังมีความเข้าใจอื่นที่รอการวิเคราะห์อีกมากมายจากข้อมูลที่ Cassini ส่งมาให้ การเข้าใจนพเคราะห์ดวงอื่นๆ อาจจะส่องสะท้อนให้มนุษย์เราเข้าใจกำเนิดและความเป็นมาของโลกเรามากขึ้นด้วย สำหรับผู้ที่ติดตามความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คงเข้าใจดีว่าการสำรวจอวกาศต้องประยุกต์และพัฒนาความรู้วิทยาศาสตร์อย่างสูงเพื่อออกแบบยานและอุปกรณ์ประกอบทั้งหมด เพื่อรับกับสถานการณ์ที่ไม่รู้จักมาก่อน เป็นการ design for the unknown สิ่งท่ีพัฒนาขึ้นมาในโลกของการทหารและอวกาศ มีผลพลอยได้เป็นสินค้าอุปโภคด้านเทคโนโลยีที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ เช่น เครื่องมือสารสนเทศต่างๆ  ที่ตัองพึ่ง “การลงทุน” วิจัยพัฒนาของภาครัฐในระยะต้น มองผิวเผินเพียงเท่าที่ได้รับฟังจากสารคดีทางอินเทอร์เน็ต ก็ได้เห็นบทเรียนสำหรับวิทยาการจัดการหลายข้อ เช่น การตั้ง “วิสัยทัศน์ พันธกิจ” “การทำงานเป็นทีม” การ “ประสานงาน” และความสำคัญของ “ลอจิสติกส์” การวางแผนและการประสานงานจำเป็นมาก โครงการนี้เป็นโครงการนานาชาติ ต่างชาติต่างรับงานที่ถนัดไป เช่นยุโรปทำงานเรื่องส่งยานไปสำรวจดวงจันทร์ Titan เป็นต้น ทุกคนทำหน้าที่อย่างตั้งใจและอุทิศ นักวิทยาศาสตร์หลายชาติ หลายสาขามาทำงานร่วมกัน โดยต่างก็ทำในส่วนที่ตนถนัดอย่างดีที่สุด แบบพลาดไม่ได้ เพราะการพลาดของหนึ่งคนหรือหนึ่งทีมอาจหมายถึงความล้มเหลวของทั้งโครงการที่ได้ลงทุนไปเป็นเงินมหาศาล  งานปฏิบัติการก็ต้องคิดและทำล่วงหน้าอย่างเป็นระบบและชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นการจัดกำลังคน การรับส่งข้อมูล การสั่งการผ่านหอบังคับการที่ต้องคิดล่วงหน้าเนื่องจากคำสั่งต้องเดินทางไกล และประสบกับสถานการณ์ที่ “ไม่เคยรู้จักมาก่อน” อีกมากมาย (สัญญาณแรกที่โลกได้รับจากยาน Cassini หลังจากเข้าถึงบรรยากาศของดาวเสาร์ ใช้เวลาเดินทาง 80 กว่านาที) พันธกิจชัดเจน ไม่เบี่ยงเบน แม้เจอสิ่งที่น่าสำรวจระหว่างทางก็ตาม การมุ่งสู่ดาวเสาร์เป็นพันธกิจของการเดินทางครั้งนี้ แม้พันธกิจของผู้คุมห้องสัญญาณบังคับยานจะสิ้นสุดลงแล้ว และบางคนอาจจะรู้สีกว่างเพราะหมดภาระที่มุ่งทำมานับสิบปี  แต่งานของนักวิเคราะห์ยังรออยู่อีกมากมาย ดังที่อาจารย์ที่สนใจแอสโตรฟิสิกส์ กล่าวว่า “ตอนเริ่มต้นโครงการ Ph.D ด้านอวกาศได้งานและทำงานนี้เกือบชั่วชีวิต …

ปัจฉิมนิเทศ (ภาคขยาย ๒)–พัฒนาตนเองจาก feedback: ตัวอย่างจากการเขียน

สมัยเรียนหนังสือ เมื่อเขียนลายมือไม่สวย จะโดนคัดลายมือ เขียนตามคำบอก ถ้าสะกดผิด โดนคัดคำศัพท์นั้นซ้ำ 5 – 10 ครั้ง ถ้าคัดแล้วยังผิดอีก ต้องคัดซ้ำมากขึ้น เช่น ๒๐ ครั้ง กระทั่งตัวสะกดตัวนั้นลงไปอยู่ในจิตใต้สำนึก ให้สายตาและมือจำได้ด้วย เขียนเรียงความ คุณครูแก้สำนวนให้ หรืออย่างน้อยก็มีวงแดงๆ ให้เห็นว่าสำนวนนี้ไม่ถูกต้อง ไม่รื่นหู ฯลฯ เขียนบทร้อยกรอง คุณครูเขียนกำกับคำแก้มาให้เป็นทางเลือกที่ฟังดีกว่าที่เราเขียนไป เรียนรู้ที่จะดูและจำ คือวิธีการพัฒนาตนเอง น่าแปลกที่ทุกคนรับได้เมื่อเป็นนักเรียน แต่เมื่อโตขึ้นมา มีการมีงานทำ บางครั้งเราละเลยไม่ใส่ใจใช้การแก้งานเป็นการพัฒนาตนเอง บางคนบางคราวถึงกับขัดเคืองใจก็มี พนักงานคนหนึ่งเจอหัวหน้าขัดเกลาหรือเขียนบันทึกเสนอใหม่ กลับนึกแค่ว่า ‘เราเขียนคนละสไตล์กับหัวหน้า หัวหน้าจะเขียนอะไรก็เขียนไปตามใจเถอะ’ โดยไม่มองว่า ทำไมแก้ และสไตล์ไหนจึงจะ  ‘ผ่าน’(ไม่นับหัวหน้าที่แกล้งผู้น้อยด้วยการให้แก้แล้วแก้เล่าเพียงเพื่อสำแดงอำนาจข่มให้ผู้น้อย ‘ลง’ให้กับตัว อันเป็นการสำแดงปมด้อยมากกว่าปมเด่น)  พนักงานอีกคนหนึ่งที่เคยรู้จัก เธอท่องจำแบบขึ้นต้นและลงท้ายหนังสือที่เป็นทางการเอาไว้เลย และท่องย่อหน้าเปิดกับย่อหน้าปิดที่ใช้ซ้ำๆ กันด้วย แล้วนำไปปรับใช้ตามโอกาส เป็นการเรียนด้วยตนเองตามวิสัยบัณฑิต ไม่มีใครสั่ง หรือบังคับประดุจยังเป็นนักเรียน สองคนนี้เรียนรู้ต่างกันและผลงานในระยะยาวก็ต่างกัน สำหรับดิฉันเองนั้น ครั้งแรกๆ ที่เริ่มเขียนบทความส่งให้อาจารย์ คุณนิลวรรณ ปิ่นทอง บรรณาธิการนิตยสาร สตรีสาร  อาจารย์เคยเตือนนิ่มๆ ว่า “ถ้าเอาต้นฉบับที่แก้แล้วกลับไปดู จะเรียนรู้ได้อีก” ครั้งนั้นการตรวจแก้ติดตามง่ายมากเพราะเป็นต้นฉบับตัวพิมพ์ดีด อาจารย์ขอให้คุณวานิช จรุงกิจอนันต์ ช่วยตรวจแก้ ต้นฉบับที่แก้แล้วจึงมีลายมือเขียนแก้แบบเดียวกับที่คุณครูเคยตรวจเรียงความ  ทำให้้เรียนรู้และปรับปรุงตัวเองได้  ครั้งนั้นยังได้ยินข้อติติงสำนวนของนักเขียนคนอื่นๆ ได้ด้วย เช่น  ต้นฉบับเขียนว่า  “เขาพูดออกไปว่า” ….. ผู้ตรวจแก้ตั้งคำถามว่า การพูดก็ต้องพูดออกไปอยู่แล้ว ทำไมต้อง “พูดออกไป” แล้วคำว่า ออกไปก็โดนกากะบาทสีแดง ทำนองเดียวกับ “เธอหัวเราะออกมา” ออกมาก็โดนเหมือนกัน ร่างแบบบาง …​เป็นคำบรรยายซ้ำสักห้าครั้งในหนึ่งบท  จนมีคำติงอย่างมีอารมณ์ขันว่า ถ้า “บาง” ไปเรื่อยๆ กว่าจะจบเรื่องนางเอกคงตัวหายไปเลย ฯลฯ   เพิ่งค้นเจอร่างหนังสือที่เขียนในวัย ๔๐ เศษ ส่งให้คุณบุญมา วงศ์สวรรค์ อดีตปลัดกระทรวงการคลัง  ท่านส่งฉบับที่มีลายมือแก้กลับมาให้พร้อมกับพิมพ์ฉบับที่พิมพ์ใหม่เรียบร้อย  เป็นอันว่าได้เรียนอีกครั้งว่า สำนวนที่เขียนยังสู้ที่ผู้ใหญ่ท่านแก้ให้ไม่ได้ (ดูจากภาพ) ต่อมาเมื่อเขียนบทความส่งไปนิตยสารต่างๆ ข้อมูลป้อนกลับแบบนี้ไม่มี  แต่ไม่ใช่ไม่มีข้อมูลป้อนกลับ เพราะฉบับที่ตีพิมพ์นั่นแหละเป็นข้อมูลป้อนกลับ  ถ้าจะหยิบสำนวนที่ส่งกับที่ตีพิมพ์มาเทียบกันเพื่อดูว่า บรรณาธิการหรือผู้พิสูจน์อักษรแก้อะไรบ้าง  อย่างมากที่สุดที่เคยทำก็คือ อ่านอีกครั้งเพื่อดูว่าตกหล่นใจความสำคัญหรือไม่ เป็นการตรวจแบบจับผิดว่า ‘เขาตกหล่นตรงไหนหรือเปล่า’  ไม่ใช่การอ่านเพื่อพัฒนาตนเอง  เมื่อทำเช่นนี้ เรื่องสำนวนและสะกดการันต์กลายเป็น “รายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ” และหลุดไปจากความสนใจ เพราะ (๑) ดูยาก ตรงที่ไม่มีลายมือแก้กำกับมาให้เทียบง่ายๆ  และ (๒) ข้อแก้ตัวว่าเป็นหน้าที่คนอื่นที่ต้องรับผิดชอบดูแลให้ถูกต้อง แค่เราเขียนส่งไปก็เก่งแล้ว ทำนองว่านักเขียนระเหิดระหงได้เหนือผู้พิสูจน์อักษร และบรรณาธิการที่เกรงใจนักเขียน ยิ่งหน้าที่การงานก้าวหน้า ข้อแก้ตัวยิ่งชัด เขียนสะกดการันต์ผิดๆ ไม่เป็นไร เดี๋ยวลูกน้องก็เปลี่ยนจากผิดเป็นถูกให้เอง ความคิดทำนองนี้เป็นการสำคัญผิด เพราะทำให้หยุดพัฒนาตนเอง ยิ่งเมื่อไม่มีใครให้ข้อมูลป้อนกลับตรงๆ ในส่วนที่เกี่ยวกับเนื้อหา ก็เหมือนกับทำงานในความมืด ก้าวหน้าหรือถอยหลังก็ไม่รู้ได้  เมื่อต้นปี 2560 ริอ่านจัดหน้าหนังสือเอง ไหนๆ หนังสือก็มีชื่อประกอบส่วนหนึ่งว่า ลองมาแล้ว ก็เลย “ลองทำเลย์เอ้าเอง ดูซิว่าทำไมเขาทำกันนานนัก”  พอทำเสร็จก็ส่งไปให้ผู้ชำนาญการพิสูจน์อักษร  เธอผู้นั้นพิสูจน์อักษรบนกระดาษ เพื่อให้มั่นใจในการจัดวางหน้า ย่อหน้า และการตัดคำด้วย  และเราผู้เป็นเจ้าของงานได้เห็นชอบก่อนจะแก้ไขในต้นฉบับที่จะส่งโรงพิมพ์ ในภาษาไทยการตัดคำสำคัญนักเพราะภาษาไทยเขียนคำติดกันไปหมด โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ตัดภาษาไทยเก่งๆ ยังไม่มีและอาจจะมีไม่ได้ เช่น คำว่าคอมพิว – เตอร์  รัฐ-ธรรมนูญ  รัฐธรรม-นูญ  ประชา-ธิปไตย เหล่านี้ดูแล้วขัดตา เขาไม่ตัดกัน  เมื่อได้ตัวต้นฉบับที่มีลายมือแก้แล้วกลับมาดู เพื่อแก้เลย์เอ้า จึงได้รู้ว่าสะกดคำบางคำผิดมาตลอด (อันที่จริงก็ไม่แน่ใจว่าสะกดอย่างไรถูก แต่ไม่จำเวลาที่อ่านบทความอื่นๆ ที่มีตัวสะกดเหล่านี้ผ่านตา และยังนึกว่าสะกดไปอย่างไร เดี๋ยวก็มีคนแก้เอง ตามแบบของคนที่ไม่คิดพัฒนาตนเอง) ขอบคุณความคิด …

วิวัฒนาการเศรษฐกิจไทย: ข้อคิดและบทเรียน

สถานภาพทั่วไป เนื่องจาก 666 ปี กรุงศรีอยุธยา มีสารคดีและงานวิชาการค้นคว้าเรื่องอยุธยามากมาย สำหรับหนอนหนังสือ เช่น หมิงสือลู่-ชิงสืือลู่ บันทึกเรื่องจริงแห่งราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิง ตอนว่าด้วยสยามฯ และ อโยธยาศรีรามเทพนครบวรทวารวดี มรดกความทรงจำแห่งสยามประเทศ   ดร. วินัย พงศ์ศรีเพียร บรรณาธิการ เป็นต้น สำหรับผู้ชม มีงานสนทนาและสารคดีมากมายในยูทูป รวมทั้งสถานีไทยพีบีเอส ออกอากาศสารคดีชุด อยุธยาที่ไม่รู้จัก ไป ๔ ตอนแล้ว คือ “อยุธยาที่หายไป” “อยุธยามหาอำนาจราชธานี” “อยุธยาเมืองท่าแห่งอุษาคเนย์” “หลากชนชาติ หลากภาษา อยุธยาราชธานี” สมัยรัตนโกสินทร์ระยะร้อยกว่าปีที่ผ่านมา มีงานหนังสืออีกชุดหนึ่งที่มาจากงานวิจัยของ สกว.  ดร. วินัย พงศ์ศรีเพียร เป็นหัวหน้าโครงการ  งานชุดนี้ครอบคลุมงานวิจัยในพื้นที่ทุกภาคของประเทศไทย ได้ภาพประวัติศาสตร์เศรษฐกิจท้องถ่ินที่คลี่คลายมาสู่ยุคปัจจุบัน  และประวัติศาสตร์ส่วนกลางบางเรื่อง เช่น เรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดิน และกระบวนการที่เกิดขึ้นในการสร้างทางรถไฟสายโคราช  ส่วนเรื่องของบุคคลที่เป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์เศรษฐกิจการค้าของไทยก็เช่น House of Maskati: One Indian Family’s Siamese Textile Legacy  ส่วนภาพยนตร์สารคดีจะมีชุด วิวัฒนาการเศรษฐกิจไทยบนเส้นทางโลกาภิวัตน์ รวม ๕ ตอน ตอนละ ๑ ชั่วโมง จากการริเริ่มสนับสนุนของธนาคารไทยพาณิชย์ จับความตั้งแต่การเปิดการค้าระหว่างประเทศตามสนธิสัญญาบาวริ่งสมัยรัชกาลที่ ๔  ดำเนินเรื่องเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน แล้วมองต่อไปสู่อนาคตด้วยนานาทัศนะจากนักเศรษฐศาสตร์และนักคิดของประเทศ สถานีไทยพีบีเอสจะเริ่มออกอากาศสารคดีชุดนี้เป็นครั้งแรกวันเสาร์ที่ ๙ กันยายน ๒๕๖๐ นี้ เวลา ๒๑.๑๐ น. การเรียนรู้ประวัติศาสตร์สำคัญอย่างไร คนเราทุกคนมีประวัติความเป็นมาของตนและครอบครัว ประวัติต่างๆ ของเรามีอิทธิพลเป็นภูมิหลังส่งต่อมาถึงความคิดและการกระทำในปัจจุบันและฉายภาพบางส่วนของอนาคตได้  ประเทศชาติก็เช่นกัน ความเปลี่ยนแปลงของประเทศเกิดจากทั้งเหตุการณ์ภายนอกที่ส่งอิทธิพลมาถึง การวางนโยบายของผู้นำ และพฤติกรรมของประชาชนคนในประเทศเอง ประกอบกัน เหตุการณ์ทุกอย่างเชื่อมโยงกันในนำ้หนักต่างๆ กัน จึงสมควรรู้จักอดีต เพื่อเข้าใจปัจจุบัน และลงมือวางแผนอนาคต เพื่อลบจุดอ่อน เสริมจุดเด่นต่อไป นี่เป็นการมองของนวพร เรืองสกุล ดร. สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ มองว่า แม้ว่าอดีตจะไม่ซ้ำเดิม เพราะเหตุ ปัจจัย สภาพแวดล้อมแต่ละยุคสมัยแตกต่างกันไป  แต่การศึกษาประวัติศาสตร์เป็นการถอดสปิริตออกมาว่า แต่ละยุคสมัยประเทศไทยเอาชนะอุปสรรคและเรื่องยากๆ อย่างไร เพื่อเกิดแรงบันดาลใจในการเดินไปข้างหน้า คำถามคำตอบนี้มาจากรายการสนทนาเมื่อ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๖๐ ในชื่อ “งานเสวนาและแนะนำสารคดี ‘วิวัฒนาการเศรษฐกิจไทยฯ’”  จัด ณ อาคารโบราณหลังโก้ที่ทำงานเดิมของธนาคารสยามกัมมาจล ทุนจำกัด  ในปัจจุบันคือ ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาตลาดน้อย ประเทศไทยเป็นประเทศขาดแคลนแรงงาน เป็นข้อสังเกตอีกข้อหนึ่งที่หยิบยกขึ้นมา ในอดีตไทยเสริมแรงงานที่ขาดแคลนด้วยการกวาดต้อนผู้คนมาตั้งถิ่นฐาน อ้าแขนรับผู้อพยพที่หนีร้อนมาพึ่งเย็น และใช้แรงงานต่างชาติ เช่น ชาวจีนเข้ามาทำงานสร้างทางรถไฟ ขุดแร่ และงานแบกหามต่างๆ  โดยที่คนไทยเป็นเกษตรกร  คนกลุ่มนี้จำนวนหนึ่งพัฒนาตนเองเป็นพ่อค้า ผู้ประกอบการ และเป็น “คนเมือง” ยุคแรกๆ ของการพัฒนาเมืองในส่วนภูมิภาค  ปัจจุบันแรงงานระดับล่างก็ยังเป็นต่างชาติ แม้จะเปลี่ยนเป็นชาติอื่นๆ  การลดการใช้แรงงานต่างชาติในยุคปัจจุบันแก้ได้ง่ายกว่าสมัยก่อน (ถ้าจะทำ) ด้วยการลงทุนในเครื่องจักร อุปกรณ์และกระบวนการผลิต เพื่อลดการใช้แรงงานคนในงานที่ dirty, difficult, dangerous ในงานประมง การก่อสร้าง และงานบริการต่างๆ ส่วนในระดับวิชาชีพก็ขาดแคลนผู้มีความรู้ ในช่วงเปิดประเทศค้าขายกับตะวันตก มีชาวต่างชาติมารับราชการจนได้เป็นขุนนางระดับสูงถึงชั้นพระยาก็หลายคน เช่น เป็นเจ้าภาษีนายอากร นายช่างกรมโยธา ดูแลกองเรือและกองทัพเรือ และที่ปรึกษาอีกหลายกระทรวง  เป็นต้น เพื่อแก้ปัญหาขาดคนที่มีการศึกษาในศาสตร์ตะวันตก รัชกาลที่ ๕ ทรงริเร่ิมส่งนักเรียนไปเรียนหนังสือในต่างประเทศ ในชั้นแรกเป็นเจ้านายที่ไปเรียนเพื่อกลับมาช่วยราชการงานบริหารกระทรวงต่างๆ  ต่อมาการให้ทุนการศึกษาขยายกว้างไปสู่บุคคลทั่วไปด้วย และไม่เคยหยุดการลงทุนในการส่งนักเรียนไปเรียนต่างประเทศ  ข้อที่น่าฉงนก็คือ ผู้ที่ได้รับทุนไปเรียนต่างประเทศ สามารถเล่าเรียนในสถาบันชั้นนำ และสามารถแข่งขันกับนักศึกษาทุกชาติได้ไม่แพ้ใคร แต่เหตุใดแม้กระทั่งปัจจุบันเราก็ยังต้องพึ่งต่างชาติในกิจการต่างๆ เหมือนเดิม เช่น …