Day: 27 Aug 2017

ปัจฉิมนิเทศ/Commencement (ภาคขยาย)

เห็นแล้วนึกอะไรต่อได้บ้าง  เช่น ประเด็นวิจัย ประเด็นนโยบาย ข้อสังเกตเพื่อนำมาประยุกต์ ภาพแรก เป็นผ้าพันคอไหมจากพิพิธภัณฑ์ศิลปะในนิวยอร์ก โดยใช้ลายจากโคมที่ออกแบบโดยศิลปินมีชื่อ ภาพที่สอง  เป็นร้านค้าของกาชาด ในเมื่องหนึ่ง ในประเทศเดนมาร์ก ภาพที่สาม สตรีชาวตะวันตกกับชุดผ้าพื้นเมืองของเมียนมาร์ตอนเหนือ ในสนามบินเมืองมัณฑเลย์   ในบทความที่เขียนเมื่อ 5 ปีมาแล้วในชื่อ ปัจฉิมนิเทศ /commencement  กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า “อย่าบอกลาการเรียนรู้” (  ปัจฉิมนิเทศ click เข้าไปอ่านทบทวนได้เลย)   เรียนจากตำรา เรียนจากครูอาจารย์ เรียนจากผู้ใหญ่ในที่ทำงาน นี่เป็นเรื่องปกติ ในชีวิตทุกยุคสมัยมีการเรียนรู้นอกห้องเรียน นอกสถาบันอีกมากมาย  ความรู้มีอยู่ทั่วไป สุดแท้แต่ใครจะมองเห็น และหยิบจับมาประยุกต์ให้เป็นบทเรียนสำหรับตน  การเรียนรู้ หรือประสบการณ์ที่มีค่า = สิ่งที่ได้ประสบมา + ความคิดวิเคราะห์หาบทเรียน หรือ การได้ข้อมูล (input) => (การไตร่ตรองด้วยปัญญา) process => => บทเรียน หรือการเรียนรู้ (output)    ใช้ได้ทั้งการอ่าน การดูหนัง การฟังผู้อื่นพูด การวิเคราะห์การกระทำทั้งที่สำเร็จและผิดพลาดของตนเองและผู้อื่น ประวัติศาสตร์และเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นรอบตน สิ่งที่ได้เห็นผู้คนที่ได้พบในระหว่างการเดินทางท่องเที่ยว หรือเรียนจาก “ข้อมูลป้อนกลับ” ซึ่งเหมือนกระจกสะท้อนความผิดพลาดบกพร่องและสิ่งที่ทำได้เหมาะสมสำเร็จของตนเอง  เรื่องเหล่านี้หาบทเรียนได้ทุกวัน การจะเรียนจากข้อมูลป้อนกลับต้องมีองค์ประกอบหลายประการ ประการที่ ๑   จิตใจที่พร้อมเรียน ทัศนคติที่พร้อมฟังทั้งคำติและคำชมอย่างแท้จริง  บางคนรับคำติไม่ได้ พอใจแต่คำชม ยิ่งถ้ารับคำชมจากคนที่ปกติชมทุกคนร่ำไป ก็จะทำให้หลงลืมตนได้ง่าย ประการที่ ๒  มีท่าทีและการตอบสนองที่ทำให้ผู้ให้ข้อมูลป้อนกลับให้อย่างสบายใจ    ต้องชัดเจนว่า (๑) มักมีแต่คนยินดีกับคำชมและ (๒) ผู้ให้ข้อมูลป้อนกลับก็รักตัว ไม่ค่อยมีใครอยากติให้ขุ่นเคืองใจผู้ฟัง การจะติหรือเตือนต้องใช้กำลังใจ ความกล้า และความรักเคารพหรือความไว้ใจ สบายใจต่อผู้รับคำติติงอย่างสูง ตัวอย่างคนที่จะไม่ได้ข้อมูลป้อนกลับแท้จริงคือ คนที่บอกว่า “ติชมได้  ใจเปิดกว้าง” แต่ท่าทีตอบสนองต่อคำติหรือคำเตือนคือ คำแก้ตัว หรือน้ำเสียงสีหน้าที่ทำให้ผู้ให้ข้อมูลป้อนกลับรู้ว่า “เรื่องติอย่าเอ่ยดีกว่า”  ประการที่ ๓  เลือกขอคำติชมจากผู้ที่เก่งหรือถนัดในด้านนั้นๆ   หรือรับคำติชมจากบุคคลที่มีค่าควรฟัง    ประการที่ ๔ หัดสอนตนเองด้วยการทบทวนตนเองและสังเกตผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นงาน การเขียน หรือกิริยามารยาทที่พึงปฏิบัติ รวมทั้งการศึกษาเปรียบเทียบงานก่อนแก้ และหลังแก้ ไม่ว่าจะเป็นงานของตนเองหรือผู้อื่น ประการที่ ๕  วินิจฉัยใคร่ครวญและใช้ปัญญาในการเลือกข้อมูลป้อนกลับให้เหมาะกับตนเอง  คือได้ยินคำติชมจากทุกคนนั้นได้ แต่ฟังแล้วนำมาทำตามทุกเรื่องอาจจะไม่ได้ องค์ประกอบข้อ ๒ และ ข้อ ๓ (คุณลักษณะของผู้ขอและผู้ให้คำติชม)  ขอยกตัวอย่างจากการแต่งกลอน ๑ บท ที่เขียนแล้วติด  แต่เมื่อวางสัมพันธภาพร่วมกันได้แล้ว ก็กลายเป็น ๒ คน ช่วยกันคิด  ช่วยกันเกลา ปรึกษาหารือกันได้ เหมือนเป็น teamwork ดังนี้ ก่อนแก้ กลอน ๔ บรรทัดเป็นดังนี้  (๑) สีดำ สีแห่ง โศกเศร้า (๒) แนบเนา ทั่วไทย ทั่วถิ่น (๓) (ก)  หน้าหมอง ใจหม่น ขวัญบิน (๔) (ก) ภูมินทร์ ชีพดับ ลับลา แล้วต่อมาก็มีสำนวน (ข) (๓) (ข) ความสุข ความหวัง โบยบิน (๔) (ข) ตามเสด็จ ภูมินทร์ จากไป         เอาไงดีระหว่าง …