Thought on Financial Market Practice
Leave a Comment

โรงพยาบาลสุดแดนสยามสามทิศ

มกราคม ๒๕๕๙

IMG_9279

เดือนแรกของปีใหม่ ทุกคนต่างขมักเขม้นเขียนรายงานในส่วนของตน และเก็บตกบางเรื่องมาเติมส่วนที่ควรมี เช่น พบกรรมการสายหมอที่เหลือ และพบ อ. อัมมาร์ สยามวาลา และตรวจสอบดูว่าตอบทุกคำถามที่ได้รับมอบหมายมาหรือยัง

 

มีเรื่องผู้ป่วยต่างชาติเข้ามาเป็นประเด็นจร คือคำถามว่าโรงพยาบาลของรัฐเก็บค่ารักษาพยาบาลมากกว่าราคามาตรฐานของกระทรวงได้หรือไม่ บางคนบอกได้ บางคนบอกไม่ได้ จึงต่างคนต่างทำ แต่ถ้าถามว่าควรเก็บค่ารักษาพยาบาลอัตราเดียวกันหรือไม่ ก็มีคนตอบว่าไม่ควร เพราะต่างชาติไม่ได้เสียภาษีเงินได้ในประเทศไทย

ในขณะที่ต่างคนต่างความเห็นกันอยู่นี้ ต่างชาติจำนวนหนึี่งกำลังยินดีกับสวัสดิการที่โรงพยาบาลของรัฐไทยเปิดให้กับประชาคมทั้งอาเซียน และทั่วโลก ด้วยการเก็บค่ารักษาพยาบาลเท่ากันหมด และเปิดรับทุกคนเสมอกัน

ส่วนเรื่องผู้ป่วยที่เข้ามารับการรักษาพยาบาลที่ชายแดนนั้นเล่า บุคลากรในวงการแพทย์ก็รู้ปัญหา ครั้งที่ไปเดินสำรวจห้องสมุดโรงพยาบาลบ้านโคก ที่อุตรดิตถ์  พบบทความเรืื่องการสาธารณสุขชายแดนและแรงงานอพยพในประเทศไทย ของนักวิชาการสาธารณสุขเชี่ยวชาญ รอง ผอ สนง ป้องกันควบคุมโรค จ. อุบลฯ ในวารสารบำราศนราดูร  มกราคม – เมษายน  2557 ก็ชัดเจนทั้งปัญหาและข้อเสนอ แต่คงไม่มีการหยิบไปทำ ไม่ว่าจะเป็นการคิดเป็นเงินช่วยเหลือ และสร้างแนวป้องกันที่ชายแดนด้วยการสร้างการรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิในฟากโน้น และคิดเงินให้ชัดเจนและแตกต่างสำหรับต่างชาติ เรื่องของต่างชาติและต่างด้าวจึงยังคาอยู่

 

การ monitor รพ ด้วยเรโชต่างๆ

บริษัทฯ เตรียมนำเสนอตัวเลขสัดส่วนทางการเงินต่างๆ ที่ สป.จะใช้เพื่อวิเคราะห์สถานะของโรงพยาบาลแต่ละแห่ง โดยบริษัทฯ ทำตัวเลขของทั้ง 25 โรงพยาบาลและเขียนวิเคราะห์

ไว้ด้วยในรายงาน เรโชชุดนี้เปรียบได้กับการตรวจสุขภาพทั่วไปของโรงพยาบาลแต่ละแห่ง

ฝ่ายผู้บริหารโครงการฯ ก็นำเสนอสัดส่วนทางการเงินอีกชุดหนึ่ง ซึ่งมีเพียง ๕ ตัว เท่าจำนวนที่ สป. ใช้อยู่ โดยเปลี่ยนตัวเลขบางตัว ตัวเลขชุดนี้เป็นตัวเลขที่ส่งสัญญาณแจ้งเตือนปัญหาซึ่งจะทำให้สามารถลงมือแก้ไขได้ทันท่วงที

 

 

ระบบการเงินและบัญชี

จากโจทย์ว่า ทำอย่างไรจึงจะได้ตัวเลขการเงินและบัญชีที่เชื่อถือได้ บริษัทฯ เสนอแนวทางการปรับปรุงการทำงานที่ทำอยู่ โดยคำนึงถึงความใส่ใจในการดูแลข้อมูลให้ถูกต้อง และยังได้ทำแผนงานการจัดหาจัดจ้างทำระบบงานบัญชีอย่างเป็นขั้นตอน ตั้งแต่ต้นจนปลาย เพื่อปรับระบบใหม่ ซึี่งอาจทำได้ในเวลาประมาณ ๑ ปีครึ่ง ตั้งแต่เริ่มต้นทำ จึงอยู่ที่ว่าจะเริ่มทำหรือไม่ และเริ่มเมื่อใด

ส่วนผู้บริหารโครงการฯ ที่เคยนำเสนอแนวคิดการนำข้อมูลเข้าแบบ single data entry กลับมาตอบสำนักงบประมาณเรื่องเงินและคน ซึ่งฟังดูแล้วอยู่ในหลักหน่วยหลักสิบล้าน โดยเธอเน้นว่าควรเริ่มที่ รพช. ก่อน โดยทำทั้งเรื่องด้านการเงินและด้านการรักษาพยาบาลไปพร้อมกัน เพราะต่างก็อ้างอิงซึ่งกันและกัน การเงินและบัญชีเป็นส่วนหนึ่งของระบบเท่านั้น เรื่องผู้ป่วย ยา เวชภัณฑ์ วัสดุอื่นๆ ควรเข้ามารวมด้วยเลยเป็นระบบซ้อนระบบอยู่ภายในการทำงานเดียว

ที่เลือก รพช. เพราะ รพช. ต้องการความช่วยเหลือมากกว่า และง่ายจะทำสำเร็จได้ในเร็ววัน เพราะไม่ซับซ้อนมาก และเธอก็ไม่ลืมย้ำ (ได้ยินหลายครั้งแล้ว) ว่าให้เริ่มด้วยการตั้งคณะทำงาน ที่มีหมออยู่ด้วย เพื่อวางระบบการทำงานร่วมกับผู้ชำนาญการ ถ้าระบบงานแน่นอนแล้ว การเขียนโปรแกรมให้ได้งานตามต้องการก็ไม่ใช่เรื่องยาก เรื่องการจัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ตอนแรกแทบไม่มีเลย เครื่องในโรงพยาบาลนั่นแหละใช้ได้

กล่าวโดยย่อ ขั้นตอนการทำงานคือ

*Design workflow and input output for software writing

*จัดหาผู้เขียน software ตาม work flow ที่ทำไว้แล้ว

— deliverable คือ mock up system

(ช่วงนี้ขอเงินวิจัยได้ แบ่งงานจัดจ้างเป็นสองงานได้ และเลือกทำประมาณ ๕ รพช.)

*implement ทั่วประเทศ เมื่องานเป็นที่พอใจ ตรงนี้เป็นตอนจัดซื้อจัดจ้าง แต่ก็ทำทีละส่วนอยู่ดี โดยเริ่ม roll เป็นลำดับๆ ไป

(ตรงนี้ต้องการงบประมาณ)

หมายเหตุอีกครั้ง– hardware เป็นสิ่งสุดท้ายที่ซื้อเพื่อรองรับระบบประมวลผลกลาง ไม่ใช่ตั้งต้นก็คิดซื้อ HW ตัวใหญ่ๆ

และคิดอีกที ถ้าหา partner แข็งๆ ก็อาจมี HW back up ด้วยโดยไม่ต้องลงทุนเอง

 

เธออยากให้ สธ. เป็นเจ้าของ software เอง for national security purpose

อีกประการหนึ่ง specific program and health profile structure ของประเทศไม่ควรใช้ ready made program

 

ประโยชน์ที่ได้แน่นอน เป็นของฝ่ายบริหารทุกระดับ เพราะสิ่งที่ทำจะเป็นข้อมูลที่เชื่อถือได้และต้องตรงกันทุกโรงพยาบาล ด้วยระบบเดียวกัน การตรวจสอบควบคุมการทำงานก็ง่าย นอกจากนี้เนื่องจากสิ่งที่เสนอให้ทำเป็นโครงสร้างพื้นฐาน จึงเป็นฐานข้อมูลมารอให้ทุกคนที่สนใจมาคัดสรร มาเก็บเกี่ยวไปใช้ประโยชน์ ทั้งในงานวิจัย และการทำนโยบายที่สามารถตัดสินใจอย่างเป็นเหตุเป็นผลบนฐานของข้อเท็จจริง

 

นับว่าเป็นแนวคิดที่คล่องตัว และคงเป็นที่ต้องใจของคนช่างประหยัด และอยากได้อะไรที่ใช้ง่าย ดูแลง่าย ไม่เปลืองผู้ชำนาญการซึ่งในพื้นที่ห่างไกลหายาก  แต่คงไม่เป็นที่ชอบใจของผู้ที่ฝันถึงของดีราคาแพง  แบบอยากได้รถเบนซ์ กลับได้รับข้อเสนอให้ซื้อรถปิคอัพ

 

สุดท้ายก็อยู่ที่ว่า สธ. จะ “เคาะ” ให้ทำโครงการนี้หรือไม่ เมื่อใด และเริ่มอย่างใด ตามที่เสนอหรือแตกต่างออกไป แต่ที่ชัดเจนคือก้าวที่ยากที่สุดคือก้าวแรก แต่ถ้าเริ่มเมื่อใด ก็จะสำเร็จในเวลาข้างหน้าตามประมาณการ

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s