Day: 12 Jul 2016

โรงพยาบาลสุดแดนสยามสามทิศ

มกราคม ๒๕๕๙ เดือนแรกของปีใหม่ ทุกคนต่างขมักเขม้นเขียนรายงานในส่วนของตน และเก็บตกบางเรื่องมาเติมส่วนที่ควรมี เช่น พบกรรมการสายหมอที่เหลือ และพบ อ. อัมมาร์ สยามวาลา และตรวจสอบดูว่าตอบทุกคำถามที่ได้รับมอบหมายมาหรือยัง   มีเรื่องผู้ป่วยต่างชาติเข้ามาเป็นประเด็นจร คือคำถามว่าโรงพยาบาลของรัฐเก็บค่ารักษาพยาบาลมากกว่าราคามาตรฐานของกระทรวงได้หรือไม่ บางคนบอกได้ บางคนบอกไม่ได้ จึงต่างคนต่างทำ แต่ถ้าถามว่าควรเก็บค่ารักษาพยาบาลอัตราเดียวกันหรือไม่ ก็มีคนตอบว่าไม่ควร เพราะต่างชาติไม่ได้เสียภาษีเงินได้ในประเทศไทย ในขณะที่ต่างคนต่างความเห็นกันอยู่นี้ ต่างชาติจำนวนหนึี่งกำลังยินดีกับสวัสดิการที่โรงพยาบาลของรัฐไทยเปิดให้กับประชาคมทั้งอาเซียน และทั่วโลก ด้วยการเก็บค่ารักษาพยาบาลเท่ากันหมด และเปิดรับทุกคนเสมอกัน ส่วนเรื่องผู้ป่วยที่เข้ามารับการรักษาพยาบาลที่ชายแดนนั้นเล่า บุคลากรในวงการแพทย์ก็รู้ปัญหา ครั้งที่ไปเดินสำรวจห้องสมุดโรงพยาบาลบ้านโคก ที่อุตรดิตถ์  พบบทความเรืื่องการสาธารณสุขชายแดนและแรงงานอพยพในประเทศไทย ของนักวิชาการสาธารณสุขเชี่ยวชาญ รอง ผอ สนง ป้องกันควบคุมโรค จ. อุบลฯ ในวารสารบำราศนราดูร  มกราคม – เมษายน  2557 ก็ชัดเจนทั้งปัญหาและข้อเสนอ แต่คงไม่มีการหยิบไปทำ ไม่ว่าจะเป็นการคิดเป็นเงินช่วยเหลือ และสร้างแนวป้องกันที่ชายแดนด้วยการสร้างการรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิในฟากโน้น และคิดเงินให้ชัดเจนและแตกต่างสำหรับต่างชาติ เรื่องของต่างชาติและต่างด้าวจึงยังคาอยู่   การ monitor รพ ด้วยเรโชต่างๆ บริษัทฯ เตรียมนำเสนอตัวเลขสัดส่วนทางการเงินต่างๆ ที่ สป.จะใช้เพื่อวิเคราะห์สถานะของโรงพยาบาลแต่ละแห่ง โดยบริษัทฯ ทำตัวเลขของทั้ง 25 โรงพยาบาลและเขียนวิเคราะห์ ไว้ด้วยในรายงาน เรโชชุดนี้เปรียบได้กับการตรวจสุขภาพทั่วไปของโรงพยาบาลแต่ละแห่ง ฝ่ายผู้บริหารโครงการฯ ก็นำเสนอสัดส่วนทางการเงินอีกชุดหนึ่ง ซึ่งมีเพียง ๕ ตัว เท่าจำนวนที่ สป. ใช้อยู่ โดยเปลี่ยนตัวเลขบางตัว ตัวเลขชุดนี้เป็นตัวเลขที่ส่งสัญญาณแจ้งเตือนปัญหาซึ่งจะทำให้สามารถลงมือแก้ไขได้ทันท่วงที     ระบบการเงินและบัญชี จากโจทย์ว่า ทำอย่างไรจึงจะได้ตัวเลขการเงินและบัญชีที่เชื่อถือได้ บริษัทฯ เสนอแนวทางการปรับปรุงการทำงานที่ทำอยู่ โดยคำนึงถึงความใส่ใจในการดูแลข้อมูลให้ถูกต้อง และยังได้ทำแผนงานการจัดหาจัดจ้างทำระบบงานบัญชีอย่างเป็นขั้นตอน ตั้งแต่ต้นจนปลาย เพื่อปรับระบบใหม่ ซึี่งอาจทำได้ในเวลาประมาณ ๑ ปีครึ่ง ตั้งแต่เริ่มต้นทำ จึงอยู่ที่ว่าจะเริ่มทำหรือไม่ และเริ่มเมื่อใด ส่วนผู้บริหารโครงการฯ ที่เคยนำเสนอแนวคิดการนำข้อมูลเข้าแบบ single data entry กลับมาตอบสำนักงบประมาณเรื่องเงินและคน ซึ่งฟังดูแล้วอยู่ในหลักหน่วยหลักสิบล้าน โดยเธอเน้นว่าควรเริ่มที่ รพช. ก่อน โดยทำทั้งเรื่องด้านการเงินและด้านการรักษาพยาบาลไปพร้อมกัน เพราะต่างก็อ้างอิงซึ่งกันและกัน การเงินและบัญชีเป็นส่วนหนึ่งของระบบเท่านั้น เรื่องผู้ป่วย ยา เวชภัณฑ์ วัสดุอื่นๆ ควรเข้ามารวมด้วยเลยเป็นระบบซ้อนระบบอยู่ภายในการทำงานเดียว ที่เลือก รพช. เพราะ รพช. ต้องการความช่วยเหลือมากกว่า และง่ายจะทำสำเร็จได้ในเร็ววัน เพราะไม่ซับซ้อนมาก และเธอก็ไม่ลืมย้ำ (ได้ยินหลายครั้งแล้ว) ว่าให้เริ่มด้วยการตั้งคณะทำงาน ที่มีหมออยู่ด้วย เพื่อวางระบบการทำงานร่วมกับผู้ชำนาญการ ถ้าระบบงานแน่นอนแล้ว การเขียนโปรแกรมให้ได้งานตามต้องการก็ไม่ใช่เรื่องยาก เรื่องการจัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ตอนแรกแทบไม่มีเลย เครื่องในโรงพยาบาลนั่นแหละใช้ได้ กล่าวโดยย่อ ขั้นตอนการทำงานคือ *Design workflow and input output for software writing *จัดหาผู้เขียน software ตาม work flow ที่ทำไว้แล้ว — deliverable คือ mock up system (ช่วงนี้ขอเงินวิจัยได้ แบ่งงานจัดจ้างเป็นสองงานได้ และเลือกทำประมาณ ๕ รพช.) *implement ทั่วประเทศ เมื่องานเป็นที่พอใจ ตรงนี้เป็นตอนจัดซื้อจัดจ้าง แต่ก็ทำทีละส่วนอยู่ดี โดยเริ่ม roll เป็นลำดับๆ ไป (ตรงนี้ต้องการงบประมาณ) หมายเหตุอีกครั้ง– hardware เป็นสิ่งสุดท้ายที่ซื้อเพื่อรองรับระบบประมวลผลกลาง ไม่ใช่ตั้งต้นก็คิดซื้อ HW ตัวใหญ่ๆ และคิดอีกที ถ้าหา partner แข็งๆ ก็อาจมี HW back …