Day: 6 Jul 2016

โรงพยาบาลสุดแดนสยามสามทิศ

ประชุมครั้งที่ ๑๑   ๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ บริษัทฯ รายงานภาพของต้นทุนการให้บริการจากการลงพื้นที่รายโรงพยาบาล ๕ แห่ง ปรากฏว่า ขาดทุนทุกบริการ ทุกคนสงสัย จึงถามเรื่องความน่าเชื่อถือของข้อมูลโรงพยาบาล เมื่อได้รับคำตอบว่า บริษัทฯ ลงมือเก็บเองโดยการตามข้อมูลทุกขั้นตอนขึ้นมา (เขาเรียกว่า walk through) ทุกคนจึงมุ่งความสนใจไปที่ทำให้ข้อมูลละเอียดยิ่งขึ้น ซึ่งตรงนี้คุณหมอทั้งหลายช่วยได้มากทีเดียว เช่น ปรับข้อมูล lab, X ray, ห้องผ่าตัด ให้ระวังข้อมูลในเวชระเบียนว่าถูกต้อง ในเชิงวิเคราะห์ คะเนกันว่า ในโรงพยาบาลอื่นๆ ที่ข้าราชการไปรักษาพยาบาล กำไรส่วนหนึ่งมาจากค่ายา แต่โรงพยาบาลของ สนป. มียาจำกัดมากและเป็นยาสามัญธรรมดา   ๓๐% ของยาราคา ๑ บาท ไหนจะได้กำไรเท่า ๓๐% ของยา ๑๐๐ บาท ส่วนเงินจาก สปส. นั้นมีน้อยเพราะไม่มีโรงงานในบริเวณใกล้เคียง และการได้เงินจาก สปส. นั้น ยังแล้วแต่ว่าโรงพยาบาลที่เป็นคู่สัญญาจะแบ่งให้อีกด้วย ตรงนี้ต้องแก้ที่การตกลงระหว่างโรงพยาบาลด้วยกันเอง   ในการทำงาน สิ่งที่ต้องเตือนตนไว้เสมอคือ กฎ 80:20  เนื่องจากเป็นความโน้มเอียงปกติที่เราจะนำกรณีผิดปกติขึ้นมาแย้งเกณฑ์มาตรฐาน แล้วต่างก็เดินเข้ารกเข้าพงไปหาทางแก้ปัญหาเฉพาะแห่ง แทนที่จะจัดการกับปัญหาสามัญที่คลุม 80% ของกรณีให้เสร็จเสียก่อน การเพิ่มประสิทธิภาพทำได้อย่างไรบ้าง ผู้บริหารโครงการฯ ตอบว่า ต้องปรับวิธีการทำงาน เพราะงานบางงาน ลดคนและเพิ่มประสิทธิภาพได้ (เช่น การทำ single data entry เป็นต้น แต่เธอไม่ได้ขยายความอย่างชัดเจน คงรอไว้ให้ความคิดตกผลึกกว่านี้)   สิ่งที่กระทรวงต้องหาคือ การมี รพช. ในขนาดที่ทำขึ้นมาอยู่ในพื้นที่ เพื่อให้บริการขั้นต้นนั้น บริการคืออะไรบ้าง และต้นทุนน่าจะเป็นเท่าใด นี่เป็นพื้นฐานขั้นต้นที่จะทำให้โรงพยาบาลได้เงินขั้นต่ำที่จะอยู่ได้ นักเศรษฐศาสตร์บอกว่า ไม่ได้ economy of scale เพราะจำนวนประชากรไม่พอจะให้โรงพยาบาลทำงานได้เต็มมือ  นักบัญชีบอกว่า เป็นโรงพยาบาลที่เกิดมาก็จนแล้ว ไม่ใช่ความผิดของโรงพยาบาลสักหน่อย ความต้องการลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ของประชาชน ตามนโยบายของรัฐ ทำให้ สธ. สร้างโรงพยาบาลขึ้นมา ดังนั้น สปสช. ต้องรับลูกต่อ และจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้โรงพยาบาลอย่างเหลื่อมล้ำด้วย เพื่อให้ประชาชนได้บริการที่เท่าเทียมกัน การดูแลโรงพยาบาลแบบเดียวกับโรงพยาบาลอื่นๆ เป็นการดูแบบไม่เท่าเทียม ในกรณีนี้ความเท่าเทียมในแง่โรงพยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์คือต้องแตกต่าง สำนักงบประมาณอยากให้ช่วยประมาณกำลังกำลังคนและเงินในการปรับระบบที่กำลังทำอยู่     ส่งหมอไปหาผู้ป่วย ระหว่างที่ประชุมหาทางแก้ปัญหาเรื่องโรงพยาบาลที่ประชากรน้อย รายได้ไม่พอค่าใช้จ่ายปกติ ทำให้นึกไปถึงโรงพยาบาลที่บ้านโคก ซึ่งห่างจากตัวจังหวัด 4 – 5 ชั่วโมง จำเป็นต้องมีเครื่องมือเครื่องไม้พร้อม แต่หมอจะทำอะไรในเมื่อผู้ป่วยมีน้อย และแม้จะอยากรักษาบางด้าน ก็กลัวเรื่องคดีความเพราะมีหมอชำนาญการไม่ครบทุกด้าน (แม้ว่าตอนเรียนอยู่จะทำได้ แต่พอมีปัญหาเรื่องไม่มีหมอเฉพาะทางก็กลายมาเป็นประเด็นให้หมอดีๆ เสียอนาคตได้) คิดเล่นๆ นอกกรอบอีกครั้ง  กรณีฉุกเฉิน กรณียากๆ  ที่ห้องผ่าตัดมี แต่หมอไม่มีครบการให้บุคลากรทางการแพทย์เหาะมาด้วยระบบการแพทย์ฉุกเฉิน เพื่อไปรักษาผู้ป่วย น่าจะดีกว่าเปลืองหมอที่หายากๆ มาประจำทำงานในพื้นที่ที่ไม่มีงานทำเต็มมือ และดีกว่าให้ผู้ป่วยต้องเดินทางไกลทุลักทุเล ทำได้ไหมนะ   ทำหลายงาน ประชุม สวรส. 16 พฤศจิกายน 2558     ตอนนี้เป็นกรรมการประสาน ๓ กองทุน (คือ purchaser ทั้งสามกอง กรมบัญชีกลาง สปส. และสปสช.) เป็นประธานการเงินดูแลเรื่องลงทุนให้ สสส.(ชื่อบ่งชี้ว่า ทำเรื่อง health promotion)  และเป็นที่ปรึกษาคณะกรรมการ สวรส. (วิจัยระบบสาธารณสุข) การทำงานหลายงานมีทั้งข้อดีและข้อเสีย แต่คราวนี้นับว่าเป็นโชค เพราะงานต่อเนื่องกัน จึงได้เห็นหลายด้านของงานด้านสุขภาพพอให้ต่อจิ๊กซอว์ได้มากขึ้น ได้รู้จักหมอจำนวนมาก ซึ่งเป็นแหล่งให้ถามความเห็นและความคิดในเรื่องระบบสุขภาพ และได้เอกสารวิจัยของ สวรส. ตั้งแต่ปี 2555 – …